วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555

การเล่นปิงปอง

ภาพ:Pingpong.jpg

        ปิงปอง หรือ กีฬาเทเบิลเทนนิส คือ กีฬาชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมไปทั่วโลกทั้งในอดีตและปัจจุบัน ประเทศไทยได้มีการจัดตั้งสมาคมเทเบิลเทนนิสสมัครเล่นแห่งประเทศไทยขึ้นโดยถูกต้องตามกฏหมายและมีการแข่งขันของสถาบันต่างๆ หรือการแข่งขันชิงแชมป์ถ้วยพระราชทานแห่งประเทศไทย

[แก้ไข] ประวัติปิงปอง

        ที่มาของกีฬา ปิงปอง หรือ เทเบิลเทนนิส (Table tennis) ยังไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด ไม่มีประวัติความเป็นมาในสมัยโรมันหรือกรีกเช่นเดียวกับกีฬาประเภทอื่น แม้รัสเซียก็เคยอ้างว่าเป็นผู้คิดค้นมาก่อนใคร แต่อังกฤษอ้างว่าตนเป็นต้นกำเนิดแล้วก็ไม่มีใครไปคัดค้าน แต่มีผู้สันนิษฐานว่ามีที่มาเช่นเดียวกับลอนเทนนิส แต่แหล่งกำเนิดยังเป็นที่สงสัย Frank Monke ได้เขียนแนะนำไว้โดยให้ข้อสันนิษฐานว่ากำเนิดมาจากกีฬา 2 ชนิดคือ
1. กีฬาในร่มของเทนนิส เริ่มเล่นครั้งแรกในรัฐแมสซาชูเซตส์ ราวศตวรรษที่ 19 ( พ.ศ. 2433)
2. สันนิษฐานว่าเริ่มเล่นในอินเดีย โดยทหารอังกฤษได้นำมาเล่นเป็นกีฬากลางแจ้ง การเล่นจะใช้ไม้กระดานเป็นตาข่ายแบ่งแดน บ้างก็ว่ากำเนิดมาจากแอฟริกาใต้ แต่ที่หาหลักฐานได้คือ อังกฤษมีการโฆษณาเกี่ยวกับอุปกรณ์การเล่นเทเบิลเทนนิสชายในหนังสือกีฬาของอังกฤษเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2423 แต่ลูกที่ใช้ในสมัยนั้น ( พ.ศ. 2393) ใช้ลูกบอลทำด้วยไม้ก๊อกหรือยางแข็ง ซึ่งแข็งเกินไป
        จากการศึกษาค้นคว้าการริเริ่มของกีฬาเทเบิลเทนนิส โดยพิจารณาถึงจุดร่วมกันของเทเบิลเทนนิส เทนนิส และแบดมินตัน จะเห็นได้ว่ากีฬาเทเบิลเทนนิสมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการพัฒนาของเทนนิสมากกว่ากีฬาประเภทอื่นๆ หลังศตวรรษที่ 19 เทเบิลเทนนิสเล่นกันในห้อง (ในที่ร่ม) ต่อมาได้มีผู้ประดิษฐ์ไม้ยางชนิดหนึ่งขึ้นมา จึงเล่นกันกลางแจ้ง แต่ถ้าเมื่อใดอากาศไม่ดีก็กลับมาเล่นในห้องอีก จึงเรียกกันว่า เทเบิลเทนนิสขนาดเล็ก
        แม้จะมีคนคิดปิงปองขึ้นมาเป็นแบบย่อของกีฬาเทนนิส เมื่อใกล้จะสิ้นศตวรรษที่แล้วก็ตาม แต่ความจริงแล้ว เทเบิลเทนนิสเคยเป็นกีฬาประจำราชสำนักในสมัยศตวรรษที่ 12 เราไม่ทราบว่าใครเป็นผู้คิดค้นกีฬาชนิดนี้มาให้เราเล่นจนกระทั่งทุกวันนี้ แม้แต่ประเทศต้นกำเนิดดั้งเดิมทั้งอังกฤษ สหรัฐอเมริกา รวมทั้งอินเดีย และแอฟริกาใต้ ล้วนแต่ได้ชื่อว่าเป็นสถานที่เกิดกีฬาชนิดนี้ แต่ก็มีคนส่วนมากยอมรับว่าปิงปองเริ่มมีครั้งแรกในอังกฤษ เพราะแม้แต่คนที่กล่าวว่าเทเบิลเทนนิสเริ่มเล่นในอินเดียและแอฟริกาใต้เป็นครั้งแรก ยังเห็นพ้องกันว่าทหารอังกฤษที่ประจำอยู่ที่นั่นอาจจะมีส่วนนำปิงปองเข้ามายังประเทศทั้งสอง
ภาพ:England_pp.gif
การเล่นกีฬาปิงปองในอังกฤษสมัยก่อน

        ด้วยกฎเกณฑ์ง่ายๆ วัสดุที่มีราคาถูก และประกอบได้อย่างง่ายดายทำให้กีฬาเทเบิลเทนนิสได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ทั้งในพระราชฐาน และตามท้องถนน พระเจ้ายอร์จที่ 6 แห่งประเทศอังกฤษ ทรงโปรดฯ ให้ตั้งโต๊ะปิงปองขึ้นในพระราชวังบัคกิ้งแฮม และในสมัยเริ่มสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ทรงจัดหากีฬาชนิดนี้ไว้ให้พระราชธิดา (เจ้าฟ้าหญิงเอลิซาเบธ) ได้สนุกสนานที่พระราชวังบัลมอรอลเช่นเดียวกับพระเจ้ายอร์จที่ 6 พระเจ้าซาร์แห่งปอเซีย บัณฑิตเนห์รูแห่งอินเดีย และกษัตริย์ฟารุคแห่งอียิปต์ ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้ส่งเสริมกีฬาทั้งนั้น นักกีฬาทุกประเภทได้ยอมรับว่า ปิงปองเป็นทางวิเศษที่จะกำหนดกีฬาเฉพาะตัวของเขา เพราะปิงปองรวมเอาคุณสมบัติต่างๆ เข้าด้วยกัน ปิงปองให้ทั้งความคล่องตัวในการเล่น ทำให้ฟุตเวิร์กดีและมีความฉับไวทั้งในการบุกและความรู้สึกสนองตอบในการรับที่รวดเร็ว รวมกันแล้วจึงทำให้ปิงปองกลายเป็นกีฬาที่ก่อให้เกิดความร่าเริงมากที่สุด นักจิตวิทยาทางอุตสาหกรรม ได้เน้นให้เห็นความสำคัญของกีฬาชนิดนี้ที่ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของคนสูงขึ้น เขากล่าวว่า หลังจากได้เล่นเทเบิลเทนนิสสักเกมแล้ว คนงานก็จะกลับไปทำงานด้วยความสดชื่น และด้วยพละกำลังที่เพิ่มขึ้นอย่างประหลาด เทเบิลเทนนิสจึงได้รับการพิจารณาว่าเป็นวิธีที่มีคุณค่าที่สุดที่จะทำให้สายตาและจิตใจสัมพันธ์กันได้ดีมากขึ้น
        เมื่อเริ่มมีการเล่นใหม่ๆ เทเบิลเทนนิสเป็นกีฬาที่เล่นในห้องรับแขกในสมัยพระนางเจ้าวิคตอเรีย วัสดุที่ใช้ในสมัยนั้นส่วนมากเป็นวัสดุที่ทำขึ้นเอง โดยมิได้เตรียมมาก่อน ลูกปิงปองทำจากเส้นด้าย ใช้หนังสือวางบนโต๊ะแทนตาข่าย ไม้ตีก็ตัดจากกระดาษแข็งหนาๆ ซึ่งหนังสือเก่าๆ ที่เกี่ยวกับกีฬาประเภทนี้ได้แนะนำว่าห้องที่ใช้เล่นปิงปองควรจะตกแต่งอย่างโปร่งๆ และเครื่องอุปกรณ์ที่มีอยู่ ควรจะปกปิดไม่ให้เกิดการสึกหรอหรือฉีกขาด
        ในไม่ช้าวงการค้าเริ่มมองเห็นโอกาสที่จะหาผลประโยชน์จากเครื่องเล่นชนิดนี้ และเริ่มต้นผลิตวัสดุในการเล่นที่เหมาะสมกว่าที่เคยทำกันเองในขณะนั้น การแข่งขันระหว่างบริษัทผู้ผลิตก่อให้เกิดการตื่นตัวในกีฬาประเภทนี้อย่างมากมาย บริษัทที่กล่าวกันว่าเป็นบริษัทแรกที่เริ่มพัฒนากีฬาที่เรียกว่า เทเบิลในร่ม คือบริษัท Parker Brothers of Salem แห่งเมืองแมสซาชูเซตส์ เป็นบริษัทอเมริกันที่ผลิตสินค้ากีฬาทุกชนิด และได้ส่งสินค้าเข้าไปขายในอังกฤษ
        ลูกปิงปองที่ผลิตขึ้นในลักขณะนั้นทำด้วยยางหรือไม้ก๊อก หรือมักจะหุ้มด้วยยางหรือผ้า เพื่อป้องกันมิให้เกิดอันตรายกับโต๊ะ และให้ลูกปิงปองหมุน รูปร่างและวัสดุที่ใช้ยังคงแตกต่างกันออกไปเรื่อยๆ ซึ่งตามความจริงแล้วไม่เคยมีขนาดมาตรฐานเลย มีด้ามยาว และส่วนที่ใช้ตีนั้นข้างในจะกลวง และหุ้มด้วยแผ่นหนัง ทำให้รูปร่างคล้ายกลองเล็กๆ ตาข่ายที่ใช้จะขึงข้ามโต๊ะระหว่างเก้าอี้ 2 ตัว เกมหนึ่งๆ จบลงเมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดของผู้เล่นได้แต้ม 21 แต้ม ซึ่งกฎข้อนี้ยังไม่เคยเปลี่ยนจนปัจจุบันนี้
        การนำลูกปิงปองที่ข้างในกลวง ซึ่งทำด้วยเซลลูลอยด์ (Celluloid) มาใช้ทำให้การเล่นปฏิวัติไปโดยสิ้นเชิง ลูกปิงปองแบบใหม่ให้กำลังในการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่น่าอัศจรรย์ มีความแม่นยำสูง ส่วนความผิดพลาดมีบ้างเล็กน้อย ต่อมาอังกฤษเริ่มปรับปรุงการเล่นเทเบิลเทนนิสเป็นครั้งแรก และมีนักเทเบิลเทนนิสชาวอังกฤษชื่อ Janes Gibb ได้เดินทางไปประเทศสหรัฐอเมริกาและบังเอิญได้พบลูกบอลสีต่างๆ ซึ่งเด็กๆ ใช้เป็นของเล่น เมื่อเขากลับประเทศอังกฤษจึงนำมาใช้กับเทเบิลเทนนิส และพบว่ามีประโยชน์มาก เมื่อนักธุรกิจได้เห็นจึงยอมรับความสำคัญของมันในทันที และเริ่มผลิตออกจำหน่าย จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และผลักดันให้กีฬาประเภทนี้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น
        การแข่งขันอย่างมากมายทางการค้าทำให้บริษัทต่างๆ จดทะเบียนผลิตภัณฑ์ของตน และมีการตั้งชื่อเรียกสินค้าอย่างหรูหรา ซึ่งปัจจุบันได้ล้มเลิกไปหมดแล้ว เช่น กอสสิมา วิฟท์เว็ฟท์ และฟลิม-แฟลม การเรียกชื่อ "ปิงปอง" นี้เลียนแบบมาจากเสียงซึ่งเกิดจากไม้ตีที่มีขนาดเล็ก และยาวขึ้นด้วยหนังลูกวัวทั้งสองด้าน เมื่อใช้ไม้ตีลูกเซลลูลอยด์จะมีเสียงดัง "ปิง" และเมื่อลูกตกลงกระทบพื้นจะมีเสียงดัง "ปอง" หลังจากนั้นเมื่อมีการปรับปรุงไม้ตี เสียงที่กระทบพื้นจะเปลี่ยนแปลงไป และเมื่อกีฬาชนิดนี้นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น จึงเปลี่ยนจากชื่อเดิมเป็นเทนนิสบนโต๊ะ หรือเทเบิลเทนนิส
        เมื่อประชาชนเริ่มตื่นเต้นและนิยมเล่นปิงปองกันอย่างมาก ทั้งในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษได้มีการติดตั้งอุปกรณ์การเล่นทั่วๆ ไป ซึ่งหลักจากนั้นคนก็เริ่มเบื่อกีฬาที่เรียกว่า ปิงปอง วิฟท์ เว็ฟท์ จนไม่มีใครเล่นอีก ต่อมา Mr. E.C. Good แห่งกรุงลอนดอน เป็นผู้ทำให้ปิงปองกลับมาเป็นที่นิยมเล่นกันอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเขาเปลี่ยนมาสนใจเทเบิลเทนนิสโดยกะทันหัน เพราะเขามีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง จึงหาวิธีการที่จะบรรเทาอาการโดยที่ใจยังจดจ่อกับการเล่นปิงปองอยู่ เขาจึงไปซื้อยาที่ร้านขายยาและในขณะที่เขาจ่ายเงินค่ายาได้สังเกตเห็นแผ่นยางที่ตอกติดอยู่บนพื้นเคาน์เตอร์ ทำให้เกิดความคิดว่า ถ้านำยางแผ่นนี้ไปวางบนผิวไม้ตีปิงปองคงจะทำให้ควบคุมลูกได้ดีมากขึ้น เขาจึงได้ซื้อแผ่นยางไปจากร้านขายยา ตัดให้ได้สัดส่วนกับไม้แล้วก็ติดกาว เขาเริ่มต้นฝึกหัด และได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความพิเศษของเครื่องมือที่ปรับปรุงขึ้นมาใหม่ ทำให้เขาสามารถเข้าถึงรอบสุดท้ายของการแข่งขันนานาชาติ โดยชนะแชมป์เทเบิลเทนนิสของอังกฤษ และตามตำนานก็กล่าวว่าเขาชนะถึง 50 ต่อ 3 เกม

[แก้ไข] การเสริฟในกีฬาปิงปอง

ภาพ:Serve.jpg

        ลูกเสริฟถือเป็นหัวใจที่สำคัญอันดับแรก ในการที่จะทำคะแนนให้กับเรา ลูกเสริฟถือเป็นหัวใจสำคัญอันดับแรกในการเล่นเทเบิลเทนนิส เพราะ นักกีฬาทุกคนเมื่อแข่งขันจะต้องทำการเสริฟกันทุกคน เราจะสังเกตความสำคัญของลูกเสริฟได้จากกีฬาเทนนิส ซึ่งในระดับโลกปัจจุบันจะเห็นว่า ลูกเสริฟลูกแรก นักกีฬาที่เป็นฝ่ายเสริฟ พยายามที่จะเสริฟให้ได้คะแนนทันทีเลย ที่เราเรียกกันว่า "ลูกเอส" เพราะนักกีฬาคนนั้นจะได้คะแนนโดยง่าย และไม่ต้องเสียเวลาและเสียแรงในการตีโต้กันแต่หากในเกมส์กีฬาปิงปองแล้ว หากนักกีฬาคนใด สามารถเสริฟแล้วคู่ต่อสู้รับไม่ได้คือ รับติดเน็ต หรือ รับออกไปเลย หรือ รับได้แต่รับกลับไปไม่ดี ทำให้คู่ต่อสู้บุกกลับมาได้ง่าย หากเราเสริฟได้แบบนี้ จะดีไหม? คำตอบคงบอกว่า ดีแน่นอน ซึ่งในความจริงของกีฬาปิงปองแล้ว ลูกเสริฟถือเป็นหัวใจที่สำคัญอันดับแรกที่นักกีฬาจะต้องพยายามพัฒนาลูกเสริฟของเราให้มีประสิทธิภาพให้ได้ เพราะหากลูกเสริฟเรามีประสิทธิภาพแล้ว เกมส์ปิงปองของเราจะเหนือกว่าคู่ต่อสู้ขึ้นได้อีกระดับหนึ่งเลยทีเดียว

[แก้ไข] การจับไม้

ยังมีการเล่นและจับไม้พอจำแนกออกเป็น 3 ลักษณะดังนี้
ภาพ:Tbl-tnns.jpg

1. การจับไม้ เป็นการจับแบบจับมือ
2. ไม้ต้องติดยางเม็ด
3. วิธีการเล่นเป็นวิธีพื้นฐาน คือ การรับเป็นส่วนใหญ่ ยุคนี้ยังจัดได้ว่าเป็น “ยุคของยุโรป” อีกเช่นเคย
        ในปี ค.ศ. 1950 จึงเริ่มเป็นยุคของญี่ปุ่นซึ่งแท้จริงมีลักษณะพิเศษประจำดังนี้คือ
1. การตบลูกแม่นยำและหนักหน่วง
2. การใช้จังหวะเต้นของปลายเท้า
        ในปี ค.ศ. 1952 ญี่ปุ่นได้เข้าร่วมการแข่งขันเทเบิลเทนนิสโลกเป็นครั้งแรก ที่กรุงบอมเบย์ ประเทศอินเดีย และต่อมาปี ค.ศ. 1953 สาธารณรัฐประชาชนจีน จึงได้เข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรกที่กรุงบูคาเรสต์ ประเทศรูมาเนีย จึงนับได้ว่ากีฬาปิงปองเป็นกีฬาระดับโลกที่แท้จริงปีนี้นั่นเอง
        ในยุคนี้ญี่ปุ่นใช้การ จับไม้แบบจับปากกา ใช้วิธีการเล่นแบบรุกโจมตีอย่างหนักหน่วงและรุนแรง โดยอาศัยอุปกรณ์เข้าช่วย เป็นยางเม็ดสอดไส้ด้วยฟองน้ำเพิ่มเติมจากยางชนิดเม็ดเดิมที่ใช้กันทั่วโลก

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- Kapook แสนรู้
- Blog : Mr.Pingpong
- Blog : Mr.Yasaka
ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต

ลูกปิงปองทำมาจากวัสดุ

ลูกปิงปองทำจากเซลลูลอยด์(Celluloid Balls)

ประวัติกีฬาเทเบิลเทนนิส หรือ ปิงปอง
          จากการศึกษาประวัติยังไม่ทราบแน่ชัดว่าใครเป็นผู้คิดค้นกีฬาชนิดนี้ขึ้นมา และไม่ทราบว่าต้นกำเนิดนั้นมาจากประเทศใด เพราะมีหลายประเทศ เช่น อังกฤษ อเมริกา อินเดีย และแอฟริกาใต้ ก็อ้างว่ามาจากประเทศเหล่านี้ แต่ส่วนใหญ่ยอมรับว่าเริ่มขึ้นครั้งแรกใน ประเทศอังกฤษ เพราะมีหลักฐานว่าทหารอังกฤษที่ประจำอยู่ในประเทศ อินเดียและแอฟริกาใต้ นำมาเล่นกันและอีกหลักฐานหนึ่งคือ เคยเป็นกีฬาประจำราชสำนักอังกฤษในสมัยศตวรรษที่ 12 เนื่องจากเทเบิลเทนนิส เป็นกีฬาที่มีกฏเกณฑ์น้อย ใช้อุปกรณ์ที่หาง่าย ราคาถูก และเล่นง่ายจึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจากคนทุกระดับ

          ในประเทศอังกฤษสมัยพระเจ้ายอร์จที่ 6 ถึงกับทรงโปรดให้ตั้งโต๊ะเทเบิลเทนนิสขึ้นในพระราชวังบัคกิ้งแฮม และในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ทรงจัดกีฬาเทเบิลเทนนิสนี้ไว้ให้พระธิดา (เจ้าฟ้าหญิงอลิซาเบธ) ได้ทรงเล่นเป็นที่สนุกสนานในพระราชวังบัลมอรอล นอกจากนี้พระเจ้าซาร์แห่งเปอร์เซียบัณฑิตเนรูห์แห่งอินเดียและกษัตริย์ฟาร์คแห่งอิยิปต์ในอดีตต่างก็ทรงส่งเสริมกีฬาเทเบิลเทนนิสกันทั้งสิ้น

จากหนังสือประวัติกีฬาของ Frank Menke ได้ให้ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับกำเนิดของเทเบิลเทนนิสไว้ 2 ประการ คือ
          1. อาจเป็นกีฬาในร่มของเทนนิสซึ่งได้เริ่มเล่นเป็นครั้งแรกในมลรัฐแมสซาชูเซ็ต ประมาณปี ค.ศ. 1890
          2. สันนิษฐานว่านายทหารชาวอังกฤษซึ่งไปประจำอยู่ที่ประเทศอินเดียได้เคยเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิสเป็นกีฬากลางแจ้งมาก่อน และอีก

ความเห็นหนึ่งคือ เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศแอฟริกาใต้ และบ้างก็ว่าเกิดขึ้นในประเทศจีน

          สำหรับคำว่า เทเบิล เทนนิส (Table Tennnis) นั้นคิดตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นทางการในศตวรรษที่ 20 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1880 เกมส์การเล่นในสมัยนั้นเรียกว่า Gossima เนื่องจากสมัยนั้นใช้ไม้ก๊อกหรือยางแข็งเป็นลูกเทเบิลเทนนิสเกมส์นี้จึงเป็นที่ยอมรับและเป็นที่นิยมเล่นประมาณปี ค.ศ. 1890 ต่อมาในปี ค.ศ. 1900 Mr. James Gibbชาวอังกฤษ ได้ใช้เซลลูลอยด์(Celluloid Balls) ทำเป็นลูกเทเบิลเทนนิสแทน สาเหตุจากการใช้ลูกเซลลูลอยด์แทนไม้ก๊อกหรือยางนี้เองจึงทำให้เกิดชื่อเกมส์เรียก ปิงปองขึ้น เพราะเสียงลูกบอลกระทบไม้ตี (Ping)และพื้นโต๊ะ (Pong) การเล่นจึงแพร่หลายมากขึ้นในปี ค.ศ. 1902

ชาวอังกฤษชื่อ Mr. E.C. Good ได้คิดค้นประดิษฐ์ไม้ตีหุ้มด้วยแผ่นยางและทำให้การเล่นสนุกสนานมากขึ้น

          ราวต้นศตวรรษที่ 20 กีฬาปิงปองเป็นที่นิยมแพร่หลายมากในประเทศยุโรป ปี ค.ศ. 1920 ประเทศในยุโรปพร้อมใจกันเปลี่ยนชื่อกีฬาปิงปองเป็นกีฬาเทเบิลเทนนิส ปี ค.ศ. 1921 ประเทศอังกฤษได้ตั้งสมาคมเทเบิลเทนนิส ต่อมาในปี ค.ศ. 1926เดือนมกราคม ตัวแทนกว่า 30 ประเทศได้มีการประชุมสัมมนาขึ้น ณ กรุงบอร์นประเทศเยอรมันตะวันตก และที่ประชุมมีมติจัดตั้งสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ Internationals Table Tennis Federation : ITTF และแต่งตั้งให้เซอร์ มองตากู ดำรงตำแหน่งเป็นประธานของสหพันธ์เป็นคนแรกและเป็นประธานติดต่อกันถึง 4 สมัย โดยมีสถานที่ตั้งสหพันธ์ฯ อยู่ในประเทศอังกฤษ ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกสหพันธ์ฯ ร้อยกว่าประเทศจาก 5 ทวีป และในปีเดียวกันในเดือนธันวาคม จัดให้มีการแข่งขันชนะเลิศของโลกเป็นครั้งแรกที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ

          บริษัทผู้ผลิตวัสดุอุกปรณ์กีฬาเทเบิลเทนนิสขึ้นเป็นบริษัทแรกคือ ปาร์เกอร์ บาร์เธอร์ส ออฟซาเล็ม แห่งรัฐแมสซาชูเซ็ตในสหรัฐอเมริกา และส่งอุปกรณ์กีฬาเทเบิลเทนนิสที่ผลิตขึ้นไปขายในประเทศอังกฤษ

"สเวย์ลิ่ง คัพ" (Swetling Cup)
          เป็นรางวัลสำหรับผู้ชนะซึ่งถ้วยรางวัลนี้ได้กลายเป็นรางวัลนานาชาติที่นักตีเทเบิลเทนนิสต่างก็มุ่งหวังที่จะครอบครองกันในทุกวันนี้ ปัจจุบันอังกฤษไม่ได้รับตำแหน่งแชมป์เปี้ยนในกีฬาประเภทนี้ดังเช่นในอดีตประเทศที่มีชื่อเสียงได้แก่ อเมริกา เช็คโกสโลวาเกีย ฮังการี (ได้เป็นแชมป์เปี้ยนกีฬาโลกหลายสมัย สามารถ คว้าตำแหน่งแชมป์เปี้ยนโลกไว้ได้ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2469-2496) ต่อมาเมื่อกีฬาเทเบิลเทนนิสได้แพร่หลายเข้าสู่ทวีปเอเชีย นักกีฬาเทเบิลเทนนิสจากเอเชีย ก็ได้พัฒนาวิธีการเล่น เช่น ประเทศญี่ปุ่นได้ครองแชมป์เปี้ยนโลกในกีฬาประเภทนี้ ถึง 5 สมัย จากการแข่งขันแชมป์เปี้ยนโลกครั้งที่ 21-25 แต่ภายหลังจากนั้นเมื่อประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ให้ความสนใจและสนับสนุน
 
ที่มาจาก : http://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20080619045848AAi1ug1

วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555

การเล่นปิงปองสำหรับผู้เริ่มต้น

การเล่นปิงปองสำหรับผู้เริ่มต้น
ท่านทราบหรือไม่ว่า…ตำแหน่งเริ่มต้นบนหน้าไม้ปิงปองของเราในการตีลูกความหมุนลักษณะต่างๆ ล้วนแต่มีความหมายทั้งสิ้น…………
ถึง แม้ว่าหน้าไม้ปิงปองจะมีขนาดที่เล็ก แต่จุดต่างๆ บนหน้าไม้ที่มีขนาดเล็กนี้ ล้วนมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะแต่ละจุดเหล่านี้ หากใช้ในการสัมผัสลูกปิงปองให้ถูกต้อง จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับลูกปิงปองเมื่อเราตีออกไปเป็นอย่างมาก การให้ความสำคัญกับจุดต่างๆ บนหน้าไม้เหล่านี้ นักกีฬาที่มีฝีมือสูงๆ จะให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และเมื่อเรามีเคล็ดลับที่สำคัญเหล่านี้ เราจึงควรที่จะเริ่มฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ ซึ่งการฝึกฝนการตีลูกปิงปองให้ตรงตามตำแหน่งบนหน้าไม้ปิงปองนี้ ไม่สามารถทำได้เพียง 1 วัน หรือ 2 วัน แต่จะต้องปฎิบัติเป็นประจำ อาจจะเป็นเดือน เป็นปี และ ต้องปฏิบัติตลอดไปจนกว่าท่านจะเลิกเล่นปิงปอง
การ ตีลูกให้ถูกตำแหน่งบนหน้าไม้ปิงปองนี้ ก็เพื่อที่จะให้ลูกปิงปองที่ตีออกไปมีความหมุนมากที่สุด การที่จะให้ลูกปิงปองมีความหมุนมาก จะต้องใช้พื้นที่บนหน้าไม้ปิงปองซึ่งเป็นตำแหน่งที่แรงที่เราได้ออกแรงไป  จะออกจากหน้าไม้ปิงปองบริเวณดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นในการตีลูกปิงปอง  ลูกปิงปองจะมีความหมุนมากที่สุดตามมา
ต่อไปนี้จะเป็นตำแหน่งเริ่มต้นสำหรับการตีลูกปิงปองบนหน้าไม้ปิงปองที่สำคัญๆ เพื่อตีลูกปิงปองในลักษณะความหมุนชนิดต่างๆ
ด้านโฟร์แฮนด์
ตำแหน่งที่ 1 สำหรับตีลูก TOP SPIN (ลูกหมุนไปข้างหน้า)
ตำแหน่งที่ 2 สำหรับตีลูก BACK SPIN (ลูกตัด)
ตำแหน่งที่ 3 สำหรับตีลูก SIDE SPIN (ลูกหมุนด้านข้าง)
ตำแหน่งที่ 4 สำหรับตีลูก BOCK , ลูก BASIC เบื้องต้น
ด้านแบ๊คแฮนด์
ตำแหน่งที่ 1 สำหรับตีลูก TOP SPIN (ลูกหมุนไปข้างหน้า)
ตำแหน่งที่ 2 สำหรับตีลูก BACK SPIN (ลูกตัดหรือลูกหมุนถอยหลัง)
ตำแหน่งที่ 3 สำหรับตีลูก SIDE SPIN (ลูกหมุนด้านข้าง)
ตำแหน่งที่ 4 สำหรับตีลูกดีดด้านแบ๊คแฮนด์ในโต๊ะ
ตำแหน่งที่ 5 สำหรับตีลูก BOCK , ลูก BASIC เบื้องต้น
และเมื่อเราทราบตำแหน่งบนหน้าปิงปองแล้ว ขอแนะนำเทคนิคการฝึกซ้อมดังนี้
1. ใช้สายตาและความรู้สึกของตนเอง มองลูกปิงปองที่มากระทบบนหน้าไม้ของเราว่า ถูกตำแหน่งหรือไม่
2. เมื่อมั่นใจในตำแหน่งที่ลูกมากระทบถูกต้องแล้ว ค่อยๆ เพิ่มแรง และ ความเร็วในการตีลูกออกไป
3. ออกแรงตีลูกในขณะที่ลูกปิงปองมาสัมผัสถูกไม้ปิงปอง
Powered by

วิธีเสริฟลูกปิงปอง

วิธีเสริฟลูกปิงปอง
6. การส่งที่ถูกต้อง (A  GOOD  SERVICE)
6.1  เมื่อเริ่มส่ง ลูกเทเบิลเทนนิสต้องวางเป็นอิสระอยู่บนฝ่ามืออิสระ  โดยแบฝ่ามือออกและลูกจะต้องหยุดนิ่ง
6.2 ในการส่ง  ผู้ส่งจะต้องโยนลูกขึ้นข้างบนด้วยมือให้ลูกลอยขึ้นข้างบนใกล้เคียงกับเส้นตั้งฉาก  และให้สูงจากจุดที่ลูกออกจากฝ่ามือไม่น้อยกว่า  16  เซนติเมตร  โดยลูกที่โยนขึ้นไปนั้นจะต้องไม่เป็นลูกที่ถูกทำให้หมุนด้วยความตั้งใจ
6.3 ผู้ส่ง  จะตีลูกได้ในขณะที่ลูกเทเบิลเทนนิสได้ลดระดับจากจุดสูงสุดแล้ว  เพื่อให้ลูกกระทบแดนของผู้ส่งก่อน แล้วข้ามหรืออ้อมตาข่ายไปกระทบแดนของฝ่ายรับ   สำหรับประเภทคู่  ลูกเทเบิลเทนนิสจะต้องกระทบครึ่งแดนของผู้ส่งก่อน  แล้วข้ามหรืออ้อมตาข่ายไปกระทบครึ่งแดนขวาของฝ่ายรับ              
6.4  ตั้งแต่เริ่มส่งลูกจนกระทั่งลูกถูกตี  ลูกเทเบิลเทนนิสจะต้องอยู่เหนือระดับพื้นผิวโต๊ะและอยู่หลังเส้นสกัด  และจะต้องไม่ให้ถูกส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย  หรือเสื้อผ้าของผู้ส่ง หรือคู่เล่นในประเภทคู่บังการมองเห็นของผู้รับ  ขณะที่เทเบิลเทนนิสถูกโยนขึ้น  มืออิสระของผู้ส่งจะต้องเคลื่อนออกจากบริเวณพื้นที่ระหว่างลำตัวผู้ส่งและตาข่าย (NET) (วัตถุประสงค์ของกติกาข้อนี้ ต้องการให้ผู้รับเห็นลูกเทเบิลเทนนิสตลอดเวลา  ทั้งนี้ผู้ส่งหรือคู่ของผู้ส่งจะต้องไม่แสดงท่าทางที่จะเป็นการบังมองเห็นของผู้รับตลอดเวลาตั้งแต่ลูกออกจากมือของผู้ส่ง  และเห็นถึงหน้าไม้ด้านที่ใช้ตีลูก)
6.5  เป็นความรับผิดชอบของผู้เล่นที่จะต้องให้ผู้ตัดสินหรือผู้ช่วยผู้ตัดสินเห็น  และตรวจสอบถึงการส่งนั้นว่าถูกต้องตามกติกาหรือไม่
6.5.1  ถ้าผู้ตัดสินสงสัยในลักษณะการส่งผู้ส่งได้ลูกถูกตามกติกาในโอกาสแรกของแมทช์เดียวกันนั้น   จะแจ้งให้ส่งลูกใหม่และเตือนผู้ส่งโดยยังไม่ตัดคะแนน
6.5.2  สำหรับในครั้งต่อไปในแมทช์เดียวกันนั้น  หากผู้เล่นหรือคู่เล่นยังคงส่งให้เป็นข้อสงสัยในทำนองเดียวกัน  หรือในลักษณะน่าสงสัยอื่น ๆ อีก  ผู้รับจะได้คะแนนทันที
6.5.3  หากผู้ส่งได้ส่งลูกผิดกติกาอย่างชัดเจน   ผู้ส่งจะเสียคะแนนทันที
6.6 ผู้ส่งอาจได้รับการอนุโลมได้บ้าง  หากผู้ส่งคนนั้นแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบถึงการหย่อนสมรรถภาพทางร่างกาย   จนเป็นเหตุให้ไม่สามารถส่งได้ถูกต้องตามกติกา  ทั้งนี้ต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบก่อนการแข่งขันทุกครั้ง

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ค่ะ
http://sdd.snru.ac.th/UserFiles/File/sdd/sport/tabletennis.doc

การจับไม้ปิงปอง

การจับไม้ปิงปอง
วิธีการจับไม้ปิงปอง

การจับไม้ปิงปองโดยทั่วไปจะมีวิธีการจับแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้

1. การจับไม้แบบสากล SHAKE HAND

 
แบ๊คแฮนด์                         โฟร์แฮนด์

การจับไม้ปิงปองวิธีนี้เป็นที่นิยมกันทั่วโลก มีวิธีการจับไม้ที่คล้ายกับการจับมือทักทายกันของชาวยุโรป สำหรับการจับไม้แบบนี้จะเหมาะสำหรับนักกีฬาที่ถนัดทั้งในการเล่นด้านโฟร์แฮนด์ Fore hand (หน้ามือ) และ ด้านแบ๊คแฮนด์ Back hand (หลังมือ) การจับไม้แบบสากลนี้จะเหมาะสำหรับการเล่นลูกต่างๆ ได้ง่าย โดยเฉพาะลูก TOP SPIN , BACK SPIN , SIDE SPIN ซึ่งการตีลูกต่างๆ นั้นจะไม่ฝืนธรรมชาติเหมือนกับการจับไม้แบบไม้จีน แต่การจับไม้แบบนี้มักจะมีจุดอ่อนอยู่ที่กลางลำตัวเพราะเมื่อคู่ต่อสู้ตีเข้ากลางตัว หากเพราะหากฝึกมาไม่ดีจะทำให้ตัดสินใจได้ยากว่าจะใช้ด้านใดในการตีลูก

2. การจับไม้แบบจับปากกา หรือที่เรียกกันติดปากว่า “จับแบบไม้จีน” CHINESE STYLE

การจับไม้แบบนี้จะเป็นที่นิยมกันมากในนักกีฬาแถบทวีปเอเซียของเรา ได้แก่ จีน , ญี่ปุ่น , เกาหลี สำหรับนักกีฬาที่ใช้วิธีการจับไม้แบบนี้จะถนัดในการเล่นด้านโฟร์แฮนด์ได้ดีเป็นพิเศษ อีกทั้งจะต้องมีการเคลื่อนที่ได้รวดเร็ว ซึ่งชาวเอเซียเราส่วนใหญ่ตัวเล็กและเคลื่อนที่ได้รวดเร็ว การจับไม้แบบไม้จีน จึงเป็นที่นิยมกันแถบเอเซีย สำหรับในยุโรปแล้วมีนักกีฬาที่ใช้วิธีการจับไม้แบบนี้กันน้อยมาก เพราะนักกีฬายุโรปมักจะเคลื่อนที่ได้ช้า และการจับไม้แบบไม้จีนจะมีจุดอ่อนอยู่ที่ด้าน Back hand เพราะไม่สามารถเล่นลูก TOP SPIN ได้สะดวก แต่ปัจจุบันนี้ประเทศจีนได้คิดค้นวิธีการตีแบบใหม่ ซึ่งทำให้วิธีการจับไม้แบบไม้จีนมียุทธวิธีในการตีลูกได้รุนแรงและหลากหลายมากยิ่งขึ้น คือการใช้ด้านหลังมือตี ซึ่งอดีตที่ผ่านมาด้านนี้จะไม่ค่อยได้ใช้ในการตีลูก นักกีฬาจีนยุคใหม่จะถนัดในการเล่นลูกหลังมือนี้มากขึ้น เพราะสามารถเล่นได้ลูก TOP SPIN และ ลูกตบได้ดีอีกด้วย นับเป็นอาวุธใหม่สำหรับนักกีฬาจีนไว้ปราบนักกีฬาที่จับไม้แบบสากลโดยเฉพาะ 


ประโยชน์ของกีฬาปิงปอง

กีฬาเทเบิลเทนนิส หรือ ปิงปอง ที่เรารู้จักกันนั้น ถือเป็นกีฬาที่มีความยากในการเล่น เป็นอันดับต้นๆ ของโลก เนื่องจากธรรมชาติของกีฬาประเภทนี้นั้น ถูกจำกัดให้ตีลูกปิงปองลงบนโต๊ะของคู่ต่อสู้ ซึ่งพื้นที่บนฝั่งตรงข้ามมีเพียง พื้นที่ แค่ 4.5 ฟุต X 5 ฟุตเท่านั้น และลูกปิงปองยังมีความเบามาก เพียง 2.7 กรัม เท่านั้น และความเร็วในการเคลื่อนที่จากฝั่งหนึ่ง ไปยังอีกฝั่งหนึ่ง ยังใช้เวลาไม่ถึง 1 วินาทีอีกต่างหาก แถมลูกปิงปองที่ลอยอยู่ในอากาศนั้น ยังมีความหมุนรอบตัวเองอีกด้วย ซึ่งลูกปิงปองที่กำลังเคลื่อนที่มาหาเรานั้น เราจะต้องตีกลับไปอีกด้วย เพราะไม่ตี หรือ ตีไม่ได้ ก็หมายถึงการเสียคะแนนทันที

แต่ในความยากนั้น ก็ย่อมมีประโยชน์สำหรับผู้เล่นเหมือนกัน เพราะ เป็นกีฬาที่ต้องใช้ทุกส่วนของร่างกายร่วมกันทั้งหมด ซึ่งส่วนต่างๆ ที่ต้องใช้ มีดังนี้

1. สายตาสายตาจะต้องจ้องมองลูกอยู่ตลอดเวลา แต่การจ้องลูกอย่างเดียวก็ยังไม่เพียงพอ เพราะจะต้องจ้องมองและสังเกตหน้าไม้ของคู่ต่อสู้อีกด้วยว่า ตีลูกความหมุนลักษณะใดมาหาเรา

2. สมองปิงปอง เป็นกีฬาที่ต้องใช้สมองในการคิดเป็นอย่างมาก เพราะจะต้องคิดอยู่ตลอดเวลา รวมถึงต้องวางแผนการเล่นอีกด้วย

3. มือมือที่ใช้จับไม้ปิงปอง จะต้องคล่องแคล่วและว่องไว รวมถึงต้องรู้สึกได้เมื่อลูกปิงปองสัมผัสถูกหน้าไม้

4. ข้อมือในการตีบางลักษณะ จำเป็นต้องใช้ข้อมือเข้าช่วย ลูกจึงจะมีความหมุนมากยิ่งขึ้น

5. แขนต้องมีพลกำลังและมีความอดทนในการฝึกซ้อมที่ต้องซ้อมแบบซ้ำและซ้ำอีก

6. ลำตัว
การตีลูกปิงปองในบางจังหวะ  ต้องใช้ลำตัวเข้าช่วย

7. ต้นขา
แน่นอนว่าเมื่อกีฬาปิงปองเป็นกีฬาที่มีความเร็วสูง ต้นขาจึงต้องแข็งแรง และเตรียมพร้อมในการเคลื่อนที่ตลอดเวลา

8. หัวเข่า
ต้องย่อเข่า เพื่อเตรียมพร้อมในการเคลื่อนที่

9. เท้า
ต้องเคลื่อนที่เข้าหาลูกปิงปองตลอดเวลา หากเท้าไม่เคลื่อนที่เข้าหาลูกปิงปอง ก็จะทำให้ไม่มีฟุตเวิร์ด และตามตีลูกปิงปองไม่ทัน

จะเห็นได้ว่า กีฬาเทเบิลเทนนิสจะใช้ทุกส่วนของร่างกายในการเล่น เนื่องจากเป็นกีฬาที่มีความรวดเร็วนั่นเอง และยังไม่รวมถึงจิตใจที่จะต้องมีความเข้มแข็ง อดทน ทั้งในการฝึกซ้อม และ จิตใจที่จะต้องเป็นนักสู้เมื่อลงทำการแข่งขัน เพราะเป็นกีฬาประเภทบุคคลที่จะต้องพึ่งความสามารถของตนเองมากกว่าที่จะต้องอาศัยเพื่อนร่วมทีม ดังเช่นกับกีฬาประเภททีมอื่นๆ

สำหรับสิ่งที่เป็นประโยชน์อื่นๆ ที่จะได้รับติดตามมาก็คือ การมีจิตใจและมีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย , การได้มีโอกาสมากกว่าผู้ที่ไม่ได้เล่นกีฬาในการเข้าศึกษาในสถาบันหรือโรงเรียนต่างๆ หรือ หากได้มีโอกาสรับใช้ชาติได้ ก็จะเป็นเกียรติต่อทั้งวงศ์ตระกูลรวมทั้งประโยชน์ต่อตนเอง ทั้งชื่อเสียง , ประสบการณ์ในการเดินทางไปแข่งขันในดินแดนต่างๆ หรือ อาจจะสามารถประกอบเป็นอาชีพในประเทศที่มีการเล่นกีฬาปิงปองเป็นอาชีพได้

ครับ... ในเมื่อการเล่นกีฬาประเภทนี้ สามารถให้ประโยชน์ต่างๆ ได้มากมายขนาดนี้แล้ว หันมาเล่นกีฬาประเภทนี้กันให้มากๆ เถอะครับ นี่ยังไม่รวมถึงเป็นกีฬาที่ไม่มีการปะทะกัน การบาดเจ็บจากการเล่นมีน้อย และยังสามารถเล่นได้ต้องแต่อายุยังน้อยจนถึงอายุ 50 , 60 และ 70 ปี ก็ยังมีคนเล่นนะครับ

ปิงปอง



กติกากีฬาปิงปอง

ก ติ ก า เ ท เ บิ ล เ ท น นิ ส
ส ม า ค ม เ ท เ บิ ล เ ท น นิ ส แ ห่ ง ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย
จั ด พิ ม พ์ โ ด ย . . ปิ ง ป อ ง อิ น เ ต อ ร์

1.1 พื้นหน้าด้านบนของโต๊ะเรียกว่า “พื้นผิวโต๊ะ” จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีความยาว 2.74 เมตร ( 9 ฟุต) ความกว้าง 1.525 เมตร ( 5 ฟุต) และจะต้องสูงได้ระดับ โดยวัดจากพื้นที่ตั้งขึ้นมาถึงพื้นผิวโต๊ะสูง 76 เซนติเมตร ( 2 ฟุต 6 นิ้ว )
1.2 พื้นผิวโต๊ะให้รวมถึงขอบบนสุดของโต๊ะ แต่ไม่รวมถึงด้านข้างของโต๊ะที่อยู่ต่ำกว่าขอบบนสุดของโต๊ะลงมา
1.3 พื้นผิวโต๊ะอาจทำด้วยวัสดุใดๆ ก็ได้ แต่จะต้องมีความกระดอนสม่ำเสมอ เมื่อเอาลูกเทเบิลเทนนิสมาตรฐานทิ้งลงในระยะสูง 30 เซนติเมตร ลูกจะกระดอนขึ้นมาประมาณ 23 เซนติเมตร
1.4 พื้นผิวโต๊ะจะต้องเป็นสีเข้มสม่ำเสมอและเป็นสีด้านไม่สะท้อนแสง ขอบด้านบนของพื้นผิวโต๊ะทั้ง 4 ด้านจะทางด้วยสีขาว มีความกว้าง 2 เซนติเมตร เส้นของพื้นผิวโต๊ะด้านยาว 2.74 เมตรทั้งสองข้างเรียกว่า “เส้นข้าง” เส้นของพื้นผิวโต๊ะด้านกว้าง 1.525 เมตร ทั้งสองข้างเรียกว่า “เส้นสกัด”
1.5 พื้นผิวโต๊ะจะถูกแบ่งออกเป็นสองแดนเท่าๆ กัน กั้นด้วยเน็ตซึ่งขึงตั้งฉากกับพื้นผิวโต๊ะ และขนานกับเส้นสกัดโดยตลอด
1.6 สำหรับประเภทคู่ ในแต่ละแดนจะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนเท่าๆ กันด้วยเส้นสีขาวขนาดกว้าง 3 มิลลิเมตร โดยขีดขนานกับเส้นข้างเรียกว่า “เส้นกลาง” และให้ถือว่าเส้นกลางนี้เป็นส่วนหนึ่งของคอร์ตด้านขวาของโต๊ะด้วย
1.7 ในการแข่งขันระดับมาตรฐานสากลโต๊ะเทเบิลเทนนิสที่ใช้สำหรับแข่งขันจะต้องเป็นยี่ห้อและชนิดที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติเท่านั้น และในการจัดการแข่งขันจะต้องระบุสีของโต๊ะที่จะใช้แข่งขันลงในระเบียบการแข่งขันด้วยทุกครั้ง

2. ส่วนประกอบของเน็ต
2.1 ส่วนประกอบของเน็ตจะประกอบไปด้วย ตาข่าย ที่แขวนและเสาตั้ง รวมไปถึงที่จับยึดกับโต๊ะเทเบิลเทนนิส
2.2 ตาข่ายจะต้องขึงตึงและยึดด้วยเชือกซึ่งผูกติดปลายยอดเสา ซึ่งตั้งตรงสูงจากพื้นผิวโต๊ะ15.25 เซนติเมตร ( 6 นิ้ว) และยื่นออกไปจากเส้นข้างของโต๊ะถึงตัวเสาต้านละ 15.25 เซนติเมตร ( 6 นิ้ว)
2.3 ส่วนบนสุดของตาข่ายตลอดแนวยาว จะต้องสูงจากพื้นผิวโต๊ะ 15.25 เซนติเมตร
2.4 ส่วนล่างสุดของตาข่ายตลอดแนวยาวจะต้องอยู่ชิดกับพื้นผิวโต๊ะและส่วนปลายสุดของตาข่ายทั้งสองด้านจะต้องอยู่ชิดกับเสาให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
2.5 ในการแข่งขันระดับมาตรฐานสากล เน็ตที่ใช้สำหรับแข่งขันจะต้องเป็นยี่ห้อและชนิดที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติเท่านั้น และจะต้องเป็นสีเดียวกันกับโต๊ะที่ใช้แข่งขัน

3. ลูกเทเบิลเทนนิส
3.1 ลูกเทเบิลเทนนิสจะต้องกลมและมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 มิลลิเมตร
3.2 ลูกเทเบิลเทนนิสจะต้องมีน้ำหนัก 2.7 กรัม
3.3 ลูกเทเบิลเทนนิสจะต้องทำด้วยเซลลูลอยด์หรือวัสดุพลาสติกอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน มีสีขาว สีเหลือง หรือสีส้ม และเป็นสีด้าน
3.4 ลูกเทเบิลเทนนิสที่ใช้สำหรับแข่งขันจะต้องเป็นยี่ห้อและชนิดที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติเท่านั้น และจะต้องระบุสีของลูกที่จะใช้แข่งขันลงในระเบียบการแข่งขันทุกครั้ง

4. ไม้เทเบิลเทนนิส
4.1 ไม้เทเบิลเทนนิสจะมีรูปร่าง ขนาด หรือน้ำหนักอย่างไรก็ได้ แต่หน้าไม้จะต้องแบนเรียบและแข็ง
4.2 อย่างน้อยที่สุด 85% ของความหนาของไม้ จะต้องทำด้วยไม้ธรรมชาติ ชั้นที่อัดอยู่ติดภายในหน้าไม้ ซึ่งทำด้วยวัสดุอื่นใด เช่น คาร์บอนไฟเบอร์ , กลาสไฟเบอร์ หรือกระดาษอัดจะต้องมีความหนาไม่เกิน 7.5 % ของความหนาทั้งหน้าไม้หรือไม่เกิน 0.35 มิลลิเมตร สุดแท้แต่กรณีใดจะมีค่าน้อยกว่า
4.3 หน้าไม้เทเบิลเทนนิสด้านที่ใช้ในการตีลูกจะต้องมีวัสดุปิดทับ วัสดุนั้นจะเป็นยางเม็ดธรรมดาแผ่นเดียวกัน โดยหันเอาเม็ดออกมาด้านนอกและไม่มีฟองน้ำรองรับ แผ่นยางชนิดนี้เมื่อปิดทับหน้าไม้และรวมกับกาวแล้วจะต้องมีความหน้าทั้งสิ้นไม่เกิน 2 มิลลิเมตร หรือแผ่นยางแผ่นเดียวกันชนิดมีฟองน้ำรองรับโดยจะหันเอาเม็ดอยู่ด้านในหรือเอาเม็ดอยู่ด้านนอกก็ได้ ยางชนิดนี้เมื่อปิดทับหน้าไม้และรวมกับกาวแล้วจะต้องมีความหนาทั้งสิ้นไม่เกิน 4 มิลลิเมตร
4.3.1) แผ่นยางเม็ดธรรมดา จะต้องเป็นชิ้นเดียวและไม่มีฟองน้ำรองรับจะทำด้วยยางหรือยางสังเคราะห์ มีเม็ดกระจายอยู่อย่างสม่ำเสมอไม่น้อยกว่า 10 เม็ดต่อ 1 ตารางเซนติเมตร และไม่มากกว่า 50 เม็ดต่อ 1 ตารางเซนติเมตร
4.3.2) แผ่นยางชนิดมีฟองน้ำ ประกอบด้วยฟองน้ำชิ้นเดียวปิดคลุมด้วยแผ่นยางเม็ดธรรมดาชิ้นเดียว ซึ่งความหนาของแผ่นยางธรรมดานี้จะต้องมีความหนาไม่เกิน 4 มิลลิเมตร
4.4 วัสดุปิดทับหน้าไม้จะต้องปิดทับคลุมหน้าไม้ด้านนั้นๆ และจะต้องไม่เกินขอบของหน้าไม้ออกไป ยกเว้นส่วนที่ใกล้กับด้ามจับที่สุดและที่วางนิ้วอาจจะหุ้มหรือไม่หุ้มด้วยวัสดุใดๆ ก็ได้ ซึ่งอาจจะถูกพิจารณาว่าเป็นส่วนหนึ่งของด้ามจับ
4.5 หน้าไม้เทเบิลเทนนิส ชั้นภายในหน้าไม้และชั้นของวัสดุปิดทับต่างๆ หรือกาวจะต้องสม่ำเสมอและมีความหนาเท่ากันตลอด
4.6 หน้าไม้เทเบิลเทนนิสด้านหนึ่งจะต้องเป็นสีแดงสว่าง และอีกด้านหนึ่งจะต้องเป็นสีดำ โดยไม่คำนึงว่าหน้าไม้นั้นจะใช้ตีลูกเทเบิลเทนนิสหรือไม่ และจะต้องมีสีกลมกลืนอย่างสม่ำเสมอไม่สะท้อนแสง ตามขอบของไม้เทเบิลเทนนิสจะต้องไม่เป็นสีสะท้อนแสงหรือมีส่วนหนึ่งส่วนใดเป็นสีขาว
4.7 วัสดุที่ปิดทับหน้าไม้สำหรับตีลูกเทเบิลเทนนิสจะต้องมีเครื่องหมายการค้าของบริษัทฯ ผู้ผลิต ยี่ห้อ รุ่น และเครื่องหมาย ITTF แสดงไว้อย่างชัดเจนใกล้กับขอบของหน้าไม้ โดยจะต้องเป็นชื่อยี่ห้อและชนิด ที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ ครั้งหลังสุดเท่านั้น
4.8 สำหรับกาวที่มีส่วนประกอบของสารพิษจะไม่อนุญาตให้ใช้ทาลงบนหน้าไม้เทเบิลเทนนิส ผู้เล่นจะต้องใช้กาวแผ่นสำเร็จรูป หรือกาวที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติเท่านั้น
4.9 การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยของความสม่ำเสมอของผิวหน้าไม้หรือวัสดุปิดทับหรือความไม่สม่ำเสมอของสีหรือขนาด เนื่องจากการเสียหายจากอุบัติเหตุ การใช้งานหรือสีจาง อาจจะอนุญาตให้ใช้ได้ โดยมีเงื่อนไขว่าเหตุเหล่านั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญต่อคุณลักษณะของผิวหน้าไม้หรือผิววัสดุปิดทับ
4.10 เมื่อเริ่มการแข่งขันและเมื่อใดก็ตามที่ผู้เล่นเปลี่ยนไม้เทเบิลเทนนิสระหว่างการแข่งขัน ผู้เล่นจะต้องแสดงไม้เทเบิลเทนนิสที่เขาเปลี่ยนให้กับคู่แข่งขันและกรรมการผู้ตัดสินตรวจสอบก่อนทุกครั้ง
4.11 เป็นความรับผิดชอบของผู้เล่นที่จะต้องมั่นใจว่าไม้เทเบิลเทนนิสนั้นถูกต้องตามระเบียบและกติกา
4.12 ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์การเล่นให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้ชี้ขาด

5. คำจำกัดความ
5.1 การตีโต้ หมายถึง ระยะเวลาที่ลูกอยู่ในการเล่น
5.2 ลูกอยู่ในการเล่น หมายถึง เมื่อลูกเทเบิลเทนนิสได้หยุดนิ่งบนฝ่ามืออิสระก่อนการส่งลูกในจังหวะสุดท้าย จนกระทั่งลูกนั้นถูกสั่งให้เป็นเล็ทหรือได้คะแนน
5.3 การส่งใหม่ ( LET ) หมายถึง การตีโต้ที่ไม่มีผลได้คะแนน
5.4 การได้คะแนน หมายถึง การตีโต้ที่มีผลได้คะแนน
5.5 มือที่ถือไม้ หมายถึง มือในขณะที่ถือไม้เทเบิลเทนนิส
5.6 มืออิสระ หมายถึง มือในขณะที่ไม่ได้ถือไม้เทเบิลเทนนิส
5.7 การตีลูก หมายถึง การที่ผู้เล่นสัมผัสลูกด้วยไม้เทเบิลเทนนิสขณะที่ถืออยู่หรือสัมผัสลูกตั้งแต่ข้อมือของมือในขณะที่ถือไม้ลงไป
5.8 การขวางลูก หมายถึง ขณะที่ลูกกำลังอยู่ในการเล่น และฝ่ายตรงข้ามตีลูกมาโดยลูกนั้นยังไม่ได้กระทบแดนของอีกฝ่ายหนึ่ง ปรากฏว่าผู้เล่นหรือสิ่งใดๆ ที่เขาสวมใส่หรือถึออยู่ของผู้เล่นฝ่ายนั้นได้สัมผัสถูกลูกขณะที่ลูกนั้นยังไม่ผ่านพื้นผิวโต๊ะและยังไม่พ้นเส้นสกัดหรือผ่านพื้นผิวโต๊ะแล้ว แต่ลูกนั้นยังอยู่ในพื้นที่บนโต๊ะ
5.9 ผู้ส่ง หมายถึง ผู้ที่ตีลูกเทเบิลเทนนิสเป็นครั้งแรกในการตีโต้
5.10 ผู้รับ หมายถึง ผู้ที่ตีลูกเทเบิลเทนนิสเป็นครั้งที่สองในการตีโต้
5.11 ผู้ตัดสิน หมายถึง ผู้ที่ถูกแต่งตั้งขึ้นเพื่อควบคุมการแข่งขัน
5.12 ผู้ช่วยผู้ตัดสิน หมายถึง ผู้ที่ถูกแต่งตั้งขึ้นเพื่อช่วยผู้ตัดสินในการตัดสิน
5.13 สิ่งใดๆ ที่ผู้เล่นสวมใส่หรือถืออยู่ หมายถึง สิ่งใดๆ ก็ตามที่ผู้เล่นสวมใส่หรือถืออยู่ตั้งแต่เริ่มการตีโต้
5.14 ลูกเทเบิลเทนนิสจะถูกพิจารณาว่าผ่านข้ามหรืออ้อมหรือลอดส่วนประกอบของเน็ต ถ้าลูกนั้นได้ข้ามผ่านเน็ตไปแล้วและกระดอนกลับด้วยแรงหมุนของมันเอง หรือผ่านด้านข้างหรือด้านใต้ของส่วนประกอบของเน็ตด้านนอกโต๊ะ
5.15 เส้นสกัด หมายรวมถึง เส้นสมมุติที่ลากต่อออกไปจากเส้นสกัดทั้งสองด้านด้วย

6. การส่งลูกที่ถูกต้อง
6.1 เมื่อเริ่มส่งลูก ลูกเทเบิลเทนนิสต้องวางเป็นอิสระอยู่บนฝ่ามือของมืออิสระ โดยแบบฝ่ามือออกและลูกต้องหยุดนิ่ง โดยลูกนั้นต้องอยู่หลังเส้นสกัดและอยู่เหนือระดับพื้นผิวโต๊ะ
6.2 ในการส่งลูก ผู้ส่งจะต้องโยนลูกขึ้นข้างบนด้วยมือให้ใกล้เคียงกับเส้นตั้งฉากและให้สูงจากจุดที่ลูกออกจากฝ่ามือไม่น้อยกว่า 16 เซนติเมตร โดยลูกที่โยนขึ้นไปนั้นจะต้องไม่เป็นลูกที่ถูกทำให้หมุนด้วยความตั้งใจ
6.3 ผู้ส่งจะตีลูกได้ขณะที่ลูกเทเบิลเทนนิสได้ลดระดับลงจากจุดสูงสุดแล้ว เพื่อให้ลูกกระทบแดนของผู้ส่งก่อนแล้วข้ามหรืออ้อมตาข่ายไปกระทบแดนของฝ่ายรับ สำหรับประเภทคู่ ลูกเทเบิลเทนนิสจะต้องกระทบครึ่งแดนขวาของผู้ส่งก่อนแล้วข้ามตาข่ายไปกระทบครึ่งแดนขวาของฝ่ายรับ
6.4 ทั้งลูกเทเบิลเทนนิสและไม้เทเบิลเทนนิสจะต้องอยู่เหรือพื้นผิวโต๊ะตลอดเวลาที่เริ่มทำการส่งลูกจนกระทั่งไม้ได้กระทบลูกแล้ว
6.5 ในการส่งลูก ขณะที่ลูกกระทบหน้าไม้จะต้องอยู่นอกเส้นสกัดทางด้านผู้ส่งหรือนอกอาณาเขตเส้นสมมุติที่ต่อออกไปจากเส้นสกัด และต้องไม่เลยส่วนที่ไกลที่สุดของลำตัวออกไปทางด้านหลังโดยวัดจากเส้นสกัด ยกเว้น แขน ศรีษะ หรือขา
6.6 เป็นความรับผิดชอบของเล่นที่จะต้องส่งลูกให้ผู้ตัดสินหรือผู้ช่วยผู้ตัดสินเห็น และตรวจสอบถึงการส่งลูกนั้นว่าถูกต้องตามกติกาหรือไม่
6.6.1) ถ้าผู้ตัดสินสงสัยในลักษณะการส่งลูก แต่ทั้งเขาและผู้ช่วยผู้ตัดสินไม่มั่นใจว่าผู้ส่งได้ส่งลูกถูกตามกติกา ในโอกาสแรกของแมทซ์นั้นจะเตือนผู้ส่งโดยยังไม่ได้ตัดคะแนน
6.6.2) สำหรับในครั้งต่อไปในแมทซ์เดียวกันนั้น หากผู้ส่งคนเดิมยังคงส่งลูกที่เป็นข้อสงสัยในทำนองเดียวกัน หรือลักษณะน่าสงสัยอื่นๆ อีก ผู้ส่งจะเสียคะแนนทันทีโดยไม่มีการเตือน
6.6.3) หากผู้ส่งได้ส่งลูกผิดกติกาอย่างชัดเจน ผู้ส่งจะเสียคะแนนทันทีโดยไม่มีการเตือน
6.7 ผู้ส่งลูกอาจได้รับการอนุโลมได้บ้าง หากผู้ส่งคนนั้นแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบถึงการหย่อนสมรรถภาพทางร่างกาย จนเป็นเหตุให้ไม่สามารถส่งลูกได้ถูกต้องตามกติกา ทั้งนี้ต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบก่อนการแข่งขันทุกครั้ง

7. การรับที่ถูกต้อง
7.1 เมื่อลูกเทเบิลเทนนิสได้ถูกส่งหรือตีโต้ไปตกลงในแดนฝ่ายครงข้ามถูกต้องแล้ว ฝ่ายรับตีลูกข้ามหรืออ้อมตาข่ายกลับไปเพื่อให้ลูกกระทบอีกแดนหนึ่งโดยตรง หรือสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งของเน็ตแล้วตกลงในแดนฝ่ายตรงข้าม

8. ลำดับการเล่น
8.1 ประเภทเดี่ยว ฝ่ายส่งได้ส่งลูกอย่างถูกต้อง ฝ่ายรับจะตีโต้กลับไป หลังจากนั้นฝ่ายส่งและฝ่ายรับจะผลัดกันตีโต้
8.2 ประเภทคู่ ผู้ส่งลูกของฝ่ายส่งจะส่งลูกไปยังฝ่ายรับ ผู้รับของฝ่ายรับจะต้องตีลูกกลับแล้วคู่ของฝ่ายส่งจะตีลูกกลับไป จากนั้นคู่ของฝ่ายรับก็จะตีลูกกลับไปเช่นนี้สลับกันในการโต้ลูก

9. ลูกที่ให้ส่งใหม่ LET
9.1 การตีโต้ซึ่งถือให้เป็นการส่งใหม่ จะต้องมีลักษณะดังนี้
9.1.1) ถ้าลูกที่ฝ่ายส่งได้ส่งไปกระทบส่วนต่างๆ ของเน็ต แล้วข้ามไปในแดนของฝ่ายรับโดยถูกต้อง หรือส่งไปกระทบส่วนต่างๆ ของเน็ตแล้วผู้รับหรือคู่ฝ่ายรับขวางลูกหรือตีลูกก่อนที่ลูกจะตกกระทบแดนของเขาในเส้นสกัด
9.1.2) ในความเห็นของผู้ตัดสิน ถ้าลูกที่ส่งออกไปแล้ว ฝ่ายรับหรือคู่ของฝ่ายรับยังไม่พร้อมที่จะรับ โดยมีข้อแม้ว่า ฝ่ายรับหรือคู่ของฝ่ายรับไม่พยายามตีลูก
9.1.3) ในความเห็นของผู้ตัดสิน หากมีเหตุรบกวนนอกเหนือการควบคุมของผู้เล่นจนทำให้การส่ง การรับ หรือการเล่นนั้นเสียไป
9.1.4) ถ้าการเล่นถูกยุติโดยผู้ตัดสินหรือผู้ช่วยผู้ตัดสิน
9.1.5) ในประเภทคู่ ถ้าผู้เล่นส่งลูกหรือรับลูกส่งผิดลำดับ
9.2 การเล่นอาจถูกยุติลงในกรณีต่อไปนี้
9.2.1) เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดในลำดับการส่งลูก การรับลูกหรือการเปลี่ยนแดน
9.2.2) เมื่อการแข่งขันได้ถูกกำหนดให้ใช้ระบบการแข่งขันแบบเร่งเวลา
9.2.3) เพื่อเตือนหรือลงโทษผู้เล่น
9.2.4) ในความเห็นของผู้ตัดสิน หากเห็นว่าสภาพการเล่นถูกรบกวนอันจะเป็นผลต่อการเล่น

10. ได้คะแนน
10.1 นอกเหนือจากการตีโต้จะถูกสั่งให้เป็นเล็ท LET ผู้เล่นจะได้คะแนนจากกรณีดังต่อไปนี้
10.1.1) ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามไม่สามารถส่งลูกได้อย่างถูกต้อง
10.1.2) ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามไม่สามารถรับลูกได้อย่างถูกต้อง
10.1.3) ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามตีลูก สัมผัสถูกสิ่งใดๆ นอกเหนือจากส่วนประกอบของเน็ต
10.1.4) ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามตีลูกข้ามผ่านเส้นสกัดของเขาโดยไม่ได้สัมผัสกับพื้นผิวโต๊ะ
10.1.5) ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามขวางลูก
10.1.6) ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามตีลูกติดต่อกันสองครั้ง
10.1.7) ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามตีลูกด้วยหน้าไม้ที่ไม่ถูกต้องตามกติกา
10.1.8) ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามหรือสิ่งใดๆ ที่ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามสวมใส่หรือถืออยู่ทำให้พื้นผิวโต๊ะเคลื่อนที่
10.1.9) ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามหรือสิ่งใดๆ ที่ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามสวมใส่หรือถืออยู่สัมผัสถูกส่วนต่างๆ ของเน็ต
10.1.10) ถ้ามืออิสระของผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามสัมผัสถูกพื้นผิวโต๊ะ
10.1.11) ในประเภทคู่ ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามตีลูกผิดลำดับ
10.1.12) ในระบบการแข่งขันแบบเร่งเวลา ถ้าเขาหรือคู่ของเขาสามารถตีโต้กลับไปได้อย่างถูกต้องครบ 13 ครั้ง

11. เกมการแข่งขัน
11.1 ผู้เล่นหรือคู่เล่นที่ทำคะแนนได้ 11 คะแนนก่อน จะเป็นฝ่ายชนะ ยกเว้นถ้าผู้เล่นทั้งสองฝ่ายทำคะแนนได้ 10 คะแนนเท่ากันจะต้องเล่นต่อไป โดยฝ่ายใดทำคะแนนได้มากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง 2 คะแนน จะเป็นฝ่ายชนะ

12. แมทซ์การแข่งขัน
12.1 ในหนึ่งแมทซ์ประกอบด้วยผู้ชนะ 3 ใน 5 เกม หรือ 4 ใน 7 เกม
12.2 การแข่งขันจะต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ยกเว้นผู้เล่นฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่ายขอสิทธิในการหยุดพักระหว่างจบเกม ซึ่งการพักระหว่างจบเกมจะพักได้ไม่เกิน 1 นาที

13. ลำดับการส่ง การรับ และแดน
13.1สิทธิในการเลือกเสริฟ เลือกรับ และเลือกแดน จะใช้วิธีการเสี่ยงทาย โดยผู้ชนะในการเสี่ยงต้องเลือกเสริฟ หรือ เลือกรับก่อน หรือเลือกแดน
13.2 เมื่อผู้เล่นหรือคู่ของผู้เล่นได้เลือกอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว ผู้เล่นหรือคู่เล่นอีกฝ่ายหนึ่งจะเป็นฝ่ายเลือกในหัวข้อที่เหลืออยู่
13.3 เมื่อผู้ส่งได้ส่งลูกครบ 2 ครั้ง ฝ่ายรับจะกลายเป็นผู้ส่งบ้าง จากนั้นทั้งสองฝ่ายจะผลัดกันส่งลูกฝ่ายละ 2 ครั้ง จนกระทั่งจบเกมการแข่งขัน หรือจนกระทั่งทั้งสองฝ่ายทำคะแนนได้ 10 คะแนนเท่ากัน หรือเมื่อนำระบบการแข่งขันแบบเร่งเวลามาใช้ การส่งจะผลัดกันส่งฝ่ายละ 1 ครั้ง
13.4 ในเกมแรกของประเภทคู่ ฝ่ายซึ่งมีสิทธิ์ในการส่งลูกก่อนจะต้องเลือกว่าใครจะเป็นผู้ส่งก่อน จากนั้นฝ่ายรับจะเลือกผู้ที่จะเป็นผู้รับ สำหรับในเกมถัดไปของแมทซ์นั้นฝ่ายส่งในเกมส์นั้นจะเป็นผู้เลือกส่งก่อนบ้าง โดยส่งให้กับผู้ที่ส่งให้เขาในเกมก่อนหน้านั้นเอง
13.5 ในประเภทคู่ ลำดับการเปลี่ยนส่งคือ เมื่อผู้ส่งได้ส่งลูกครบ 2 ครั้งแล้ว ผู้รับจะกลายเป็นผู้ส่งบ้าง โดยส่งให้กับคู่ของผู้ที่ส่งลูกให้เขา
13.6 ผู้เล่นหรือคู่เล่นที่เป็นฝ่ายส่งลูกก่อนในเกมแรกจะเป็นฝ่ายรับลูกก่อนในเกมต่อไป สลับกันจนจบแมทซ์ และในเกมสุดท้ายของประเภทคู่ ฝ่ายรับจะต้องเปลี่ยนเป็นผู้รับทันทีเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำคะแนนได้ 6 คะแนน
13.7 ผู้เล่นหรือคู่เล่นจะต้องเปลี่ยนแดนทันที เมื่อการแข่งขันในแต่ละเกมสิ้นสุดลง สลับกันจนจบแมทซ์และในการแข่งขันเกมสุดท้ายผู้เล่นจะต้องเปลี่ยนแดนทันทีเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำคะแนนได้ 6 คะแนน

14. การผิดลำดับในการส่ง การรับ และแดน
14.1 ถ้าผู้เล่นส่งหรือรับลูกผิดลำดับ กรรมการผู้ตัดสินจะยุติการเล่นทันทีที่ได้ค้นพบข้อผิดพลาดและทำการเริ่มเล่นใหม่ โดยผู้เล่นและผู้รับที่ควรจะเป็นผู้ส่งและผู้รับตามลำดับที่ได้จัดไว้ตั้งแต่เริ่มการแข่งขันของแมทซ์นั้นต่อจากคะแนนที่ทำได้ สำหรับในประเภทคู่หากไม่สามารถทราบถึงผู้ส่งและผู้รับที่ถูกต้อง ลำดับในการส่งจะถูกจัดให้ถูกต้อง โดยคู่ที่มีสิทธิ์ส่งในครั้งแรกของเกมที่ค้นพบข้อผิดพลาดนั้น
14.2 ถ้าผู้เล่นไม่ได้เปลี่ยนแดนกันเมื่อถึงคราวต้องเปลี่ยนแดน กรรมการผู้ตัดสินจะยุติการเล่นทันทีที่ทราบ และจะเริ่มเล่นใหม่โดยเปลี่ยนแดนกันให้ถูกต้องตามลำดับที่จัดไว้ตั้งแต่เริ่มการแข่งขันของแมทซ์นั้นต่อจากคะแนนที่ได้
14.3 กรณีใดๆ ก็ตาม คะแนนทั้งหมดซึ่งที่ทำไว้ก่อนที่จะค้นพบข้อผิดพลาดให้ถือว่าใช้ได้

15. ระบบการแข่งขันเร่งเวลา
15.1 ระบบการแข่งเร่งเวลาจะถูกนำมาใช้ถ้าเกมการแข่งขันในเกมนั้นไม่เสร็จสิ้นภายในเวลา 10 นาที ยกเว้นในกรณีที่ผู้เล่นหรือคู่เล่นทั้งสองฝ่ายมีคะแนนไม่น้อยกว่า 9 คะแนน จะแข่งขันตามระบบเดิมหรือจะใช้ระบบการแข่งขันเร่งเวลาก่อนครบกำหนดเวลาก็ได้ ถ้าผู้เล่นหรือคู่เล่นทั้งสองฝ่ายต้องการ
15.1.1) ถ้าลูกอยู่ในระหว่างการเล่น และครบกำหนดเวลาแข่งขันพอดี การเล่นนั้นจะถูกยุติลงโดยกรรมการผู้ตัดสินและจะเริ่มเล่นใหม่ด้วยการส่งลูก โดยผู้เล่นซึ่งเป็นผู้ส่งลูกอยู่ก่อนที่การตีโต้นั้นถูกยุติลง
15.1.2) ถ้าลูกไม่ได้อยู่ในระหว่างการเล่น และครบกำหนดเวลาแข่งขันพอดี การเล่นนั้นจะเริ่มเล่นใหม่ด้วยการส่งลูก โดยผู้เล่นที่เป็นฝ่ายรับลูกอยู่ก่อนที่เวลานั้นจะสิ้นสุดลง
15.2 หลังจากนั้น ผู้เล่นแต่ละคนจะเปลี่ยนกันส่งลูกคนละครั้ง จนกระทั่งจบเกมการแข่งขันและในการตีโต้หากผู้รับหรือคู่เล่นฝ่ายรับสามารถตีโต้กลับมาอย่างถูกต้องครบ 13 ครั้ง ฝ่ายส่งจะเสีย 1 คะแนน
15.3 เมื่อระบบการแข่งขันเร่งเวลานำมาใช้ในเกมใดแล้ว ในเกมที่เหลือของแมทซ์นั้นๆ ให้ใช้ปฎิบัติต่อไปจนกระทั่งจบแมทซ์นั้น

16. เครื่องแต่งกาย
16.1 เสื้อผ้าที่ใช้แข่งขัน ปกติจะประกอบไปด้วยเสื้อแขนสั้น กางเกงขาสั้นหรือกระโปรง ถุงเท้าและรองเท้าแข่งขัน ส่วนเสื้อผ้าชนิดอื่นๆ เช่น บางส่วนหรือทั้งหมดของชุดวอร์ม จะไม่อนุญาตให้ใส่ในระหว่างแข่งขัน ยกเว้นได้รับอนุญาตจาผู้ชี้ขาด สำหรับในการแข่งขันระดับภายในประเทศให้ผู้เข้าแข่งขันสอดชายเสื้อไว้ในกางเกงหรือกระโปรงทุกครั้ง และเสื้อแข่งขันจะต้องมีปกเท่านั้น
16.2 นอกจากแขนเสื้อและปกของเสื้อแข่งขันแล้ว สีส่วนใหญ่ของเสื้อแข่งขัน กางเกง หรือกระโปรง จะต้องเป็นสีที่แตกต่างกันกับลูกเทเบิลเทนนิสที่ใช้ในการแข่งขันอย่างชัดเจน
16.3 บนเสื้อแข่งขันอาจมีเครื่องหมายใดๆ ได้ดังนี้
16.3.1) เครื่องหมายหรือตัวอักษรที่แสดงสังกัดสโมสรที่มิใช่เป็นการโฆษณาบนด้านหน้า หรือด้านข้างของเสื้อแข่งขัน บรรจุในพื้นที่ได้ไม่เกิน 64 ตารางเซ็นติเมตร
16.3.2) ด้านหลังของเสื้อแข่งขัน อาจมีหมายเลขหรือตัวอักษรแสดงสังกัดหรือแสดงถึงแมทซ์การแข่งขัน
16.3.3) เสื้อผ้าอาจสามารถโฆษณาในขนาดที่กำหนพดไว้ตามข้อ 18.6
16.4) หมายเลขประจำตัวของผู้เล่นที่ติดบนหลังเสื้อจะต้องอยู่ตรงกลางของหลังเสื้อ โดยมีขนาดใหญ่ได้ไม่เกิน 600 ตา-รางเซ็นติเมตร และมีความเด่นชัดเหนือโฆษณา
16.5 การทำเครื่องหมายหรือการเดินเส้นใดๆ บนด้านหน้าหรือด้านข้างของเสื้อผ้าหรือวัสดุใดๆ เช่น เครื่องประดับที่สวมใส่จะต้องไม่จับตาหรือสะท้อนแสงไปยังสายตาของฝ่ายตรงข้าม
16.6 รูปแบบของเสื้อผ้า ชุดแข่งขัน ตัวอักษรหรือการออกแบบใดๆ จะต้องเป็นรูปแบบที่เรียบร้อยไม่ทำให้เกมนั้นเสื่อมเสีย
16.7 สำหรับปัญหาใดๆ ที่เกี่ยวกับระเบียบข้อบังคับของชุดแข่งขัน ให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้ชี้ขาด
16.8 ในการแข่งขันประเภททีมและในการแข่งขันประเภทคู่ นักกีฬาที่มาจากสังกัดเดียวกันจะต้องแต่งกายให้มีสีและรูปแบบที่เหมือนกันเท่าที่จะเป็นไปได้ ยกเว้นถุงเท้าและรองเท้า
16.9 ในการแข่งขันระดับนานาชาติ นักกีฬาทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องแต่งกายด้วยสีที่แตกต่างกันเพื่อง่ายต่อการสังเกตของผู้ชม
16.10 หากผู้เล่นหรือทีมไม่สามารถตกลงกันได้ในกรณีชุดแข่งขันที่เหมือนกัน จะใช้วิธีการจับฉลาก

17. สภาพของสนามแข่งขัน
17.1 มาตรฐานของพื้นที่แข่งขันจะต้องมีความยาวไม่น้อยกว่า 14 เมตร กว้างไม่น้อยกว่า 7 เมตร และสูงไม่น้อยกว่า 4 เมตร
17.2 พื้นที่การแข่งขันจะถูกล้อมไว้โดยรอบ ซึ่งที่ปิดล้อมหรือแผงกั้น จะมีขนาดสูงประมาณ 75 เซนติเมตร แยกพื้นที่การแข่งขันออกจากผู้ชม โดยแผงกั้นทั้งหมดจะต้องมีสีพื้นเดียวกันและมีสีเข้ม
17.3 ในกาแข่งขันระดับโลกหรือโอลิมปิค ควาสว่างอขงแสงเมื่อวัดจากพื้นผิดโต๊ะแล้วจะต้องมีความเข้มของแสงโดยสม่ำเสมอไม่น้อยกว่า 1000 ลักซ์ และแสงสว่างในส่วนอื่นๆ ของพื้นที่สนามแข่งขันจะต้องมีความเข้มของแสงไม่น้อยกว่า 500 ลักซ์ สำหรับการแข่งขันระดับอื่นๆ ความสว่างบนพื้นผิดโต๊ะจะต้องไม่น้อยกว่า 600 ลักซ์ และพื้นที่สนามแข่งขันไม่น้อยกว่า 400 ลักซ์
17.4 แหล่งกำเนิดแสงสว่างจะต้องอยู่สูงกว่าพื้นสนามไม่น้อยกว่า 4 เมตร
17.5 ฉากหลังโดยทั่วๆ ไป จะต้องมืด ไม่มีแสงสว่างจากแหล่งกำเนิดไฟอื่นหรือแสงจากธรรมชาติผ่านเข้ามาตราช่อง
หรือหน้าต่าง
17.6 พื้นสนามแข่งขันจะต้องไม่เป็นสีสว่างหรือสะท้อนแสง และจะต้องไม่เป็นอิฐ คอนกรีต หรือหิน สำหรับการแข่งขันระดับโลกหรือระดับโอลิมปิค พื้นสนามแข่งขันจะต้องเป็นไม้หรือวัสดุยางสังเคราะห์ที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ ITTF เท่านั้น

18. การโฆษณา
18.1 การโฆษณาภายในพื้นที่การแข่งขันสามารถทำได้เฉพาะบนอุปกรณ์การแข่งขันโดยไม่มีการต่อเติมออกมาเป็นพิเศษ
18.2 การโฆษณาภายในพื้นที่แข่งขันต้องไม่ใช้หลอดนีออนหรือแสงสว่างสีต่างๆ
18.3 ตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ภายในที่ปิดล้อมหรือแผงกั้นลูกจะต้องไม่เป็นสีขาวหรือสีเหลือง และจะต้องมีสีไม่มากกว่า 2 สี โดยมีความสูงไม่เกิน 40 เซนติเมตร
18.4 การโฆษณาบนโต๊ะแข่งขัน อนุญาตให้เฉพาะด้านข้างและด้านหลังตรงขอบโต๊ะเท่านั้น ซึ่งแต่ละโฆษณาจะมีขนาดใหญ่ได้ไม่เกิน 200 ตารางเซ็นติเมตร สำหรับการโฆษณาที่ติดเป็นการถาวรจะติดได้เฉพาะเครื่องหมายการค้า สัญลักษณ์ หรือชื่อของชนิด และรุ่น เท่านั้น คณะกรรมการจัดการแข่งขันอาจจะติดโฆษณาชั่วคราวได้บนขอบโต๊ะด้านหลังและขอบโต๊ะด้านข้างแต่ละด้านๆ ละ 1 ชิ้น
18.5 การโฆษณาบนเก้าอี้หรือโต๊ะผู้ตัดสินหรือบนเครื่องใช้อื่นๆ ภายในพื้นที่การแข่งขันจะต้องมีขนาดใหญ่ไม่เกิน 750 ตารางเซ็นติเมตร
18.6 การโฆษณาบนเสื้อผ้าของผู้เล่น มีข้อจำกัดดังนี้
18.6.1) สัญลักษณ์หรือชื่อ เครื่องหมายการค้า จะมีขนาดใหญ่ได้ไม่เกิน 24 ตารางเซนติเมตร
18.6.2) บนเสื้อแข่งขันสามารถมีการโฆษณาได้ไม่เกิน 3 ชิ้น โดยจะต้องแยกจากกันอย่างชัดเจนบนด้านหน้าหรือด้านข้างของเสื้อแข่งขัน ซึ่งการโฆษณาจะมีพื้นที่รวมกันแล้วไม่เกิน 160 ตารางเซนติเมตร
18.6.3) บนกางเกงหรือกระโปรงแข่งขันสามารถมีโฆษณาได้ไม่เกิน 2 ชิ้น โดยจะต้องแยกออกจากกันอย่างชัดเจน ซึ่งการโฆษณาจะมีพื้นที่รวมกันไม่เกิน 80 ตารางเซนติเมตร
18.6.4) ด้านหลังของเสื้อแข่งขัน สามารถมีโฆษณาได้ไม่เกิน 1 ชิ้น และมีขนาดใหญ่ได้ไม่เกิน 200 ตารางเซนติเมตร
18.7 การโฆษณาบนหมายเลขที่ติดบนด้านหลังของผู้เล่น จะมีขนาดใหญ่ได้ไม่เกิน 100 ตารางเซนติเมตร
18.8 การโฆษณาบนเสื้อผ้าของกรรมการผู้ตัดสิน จะมีขนาดใหญ่ได้ไม่เกิน 40 ตารางเซนติเมตร
18.9 ในการแข่งขันระดับนานาชาติ บนผู้เล่นจะต้องไม่มีการโฆษณาผลิตภัณฑ์บุหรี่ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือยาที่ เป็นอันตราย

19. เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวกับการตัดสิน
19.1 ผู้ชี้ขาด
19.1.1) ผู้ชี้ขาดจะต้องถูกแต่งตั้งขึ้นในการแข่งขันแต่ละครั้งเพื่อควบคุมการแข่งขัน โดยชื่อและที่ติดต่อจะต้องเป็นที่ทราบแก่ผู้เข้าร่วมการแข่งขันหรือหัวหน้าทีมต่างๆ พอสมควร
19.1.2) ผู้ชี้ขาดมีหน้าที่รับผิดชอบดังนี้
19.1.2.1 มีหน้าที่เกี่ยวกับการจับฉลากแบ่งสาย
19.1.2.2 จัดทำตารางและกำหนดโต๊ะแข่งขัน
19.1.2.3 แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในการแข่งขัน เช่น ผู้ตัดสิน ผู้ช่วยผู้ตัดสิน ฯลฯ
19.1.2.4 ตัดสินปัญหาในเรื่องของการตีความตามกติกาหรือข้อบังคับต่างๆ รวมไปถึงข้อบังคับเกี่ยวกับเสื้อผ้า อุปกรณ์การแข่งขันและสภาพของสนามแข่งขัน
19.1.2.5 ตัดสินว่าผู้เล่นจะสวมชุดวอร์มลงแข่งขันได้หรือไม่
19.1.2.6 ตัดสินว่าจะยุติการเล่นเป็นการฉุกเฉินได้หรือไม่
19.1.2.7 ตัดสินว่าผู้เล่นจะออกนอกพื้นที่การแข่งขันในระหว่างการแข่งขันได้หรือไม่
19.1.2.8 ตัดสินว่าผู้เล่นจะฝึกซ้อมได้เกินตามเวลาตามที่กำหนดไว้ ได้หรือไม่
19.1.2.9 มีหน้าที่ที่จะใช้มาตรการลงโทษสำหรับผู้ที่ประพฤติผิดมารยาทหรือละเมิดข้อบังคับอื่นๆ
19.1.2.10 มีหน้าที่ตรวจสอนคุณสมบัติของผู้เล่นให้เป็นไปตามระเบียบการแข่งขัน
19.1.2.11 ตัดสินว่าจะให้ผู้เล่นฝึกซ้อมที่ใดขณะยุติการเล่นฉุกเฉิน
19.1.2.12 มีหน้าที่ในการอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ตัดสิน ฯลฯ
19.1.3) หากหน้าที่ต่างๆ ที่กล่าวมา คณะกรรมการจัดการแข่งขันได้มอบหมายให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งทำหน้าที่แทน หน้าที่ ชื่อและที่ติดต่อของบุคคลนั้นจะต้องเป็นทราบแก่ผู้เข้าร่วมการแข่งขันหรือหัวหน้าทีมต่างๆ ตามสมควร
19.1.4) ผู้ชี้ขาดหรือผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบรองลงไป จะต้องอยู่ ณ ที่แข่งขันตลอดเวลาการแข่งขัน
19.1.5) ผู้ชี้ขาดสามารถที่จะลงทำหน้าที่แทนผู้ตัดสิน ผู้ช่วยผู้ตัดสิน หรือเจ้าหน้าที่นับครั้งได้ทุกโอกาส แต่จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงคำตัดสินของผู้ตัดสินหรือผู้ช่วยผู้ตัดสินที่ได้ตัดสินไปแล้วในปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับข้อเท็จจริง
19.2 ผู้ตัดสิน
19.2.1) ผู้ตัดสินจะถูกแต่งตั้งขึ้นในแต่ละแมทซ์ โดยจะนั่งหรือยืนตรงด้านข้างของโต๊ะในแนวเดียวกันกับเน็ต และห่างจากโต๊ะประมาณ 2-3 เมตร
19.2.2) ผู้ตัดสินมีหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้
19.2.2.1 ตรวจอุปกรณ์และดูแลสภาพความเรียบร้อยของสนามแข่งขันและรายงานต่อผู้ชี้ขาดทันทีที่สภาพสนามบกพร่อง
19.2.2.2 ทำหน้าที่ในการสุ่ม เพื่อเลือกลูกเทเบิลเทนนิสในกรณีที่ผู้เล่นไม่สามารถตกลงกันได้
19.2.2.3 ทำหน้าที่ในการเสี่ยง เพื่อให้ผู้เล่นเลือกส่ง เลือกรับ หรือเลือกแดน
19.2.2.4 ตัดสินใจผ่อนผันในการส่งลูกของผู้เล่นที่หย่อนสมรรถภาพทางร่างกาย
19.2.2.5 ควบคุมลำดับการส่ง การรับ การเปลี่ยนแดน และแก้ไขในกรณีที่ผิดพลาด
19.2.2.6 ตัดสินผลของการตีโต้ว่าได้คะแนนหรือเล็ท
19.2.2.7 ทำหน้าที่ในการขานคะแนนและใช้สัญญาณมือตามข้อ 19.2.3
19.2.2.8 เป็นผู้แนะนำระบบการแข่งขันแบบเร่งเวลา
19.2.2.9 ควบคุมการแข่งขันให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
19.2.2.10 ควบคุมการแนะนำหรือการสอนของผู้เล่น และมารยาทความประพฤติของผู้เล่นให้เป็นไปตามกติกา
19.2.3) ผู้ตัดสินจะใช้สัญญาณมือเพื่อช่วยในการตัดสินควบคู่ไปกับการขานคะแนน ดังนี้
19.2.3.1 เมื่อได้คะแนน ผู้ตัดสินจะกำมือโดยหันหน้ามือออก ยกกำปั้นขึ้นมาระดับหัวไหล่ด้านของฝ่ายที่ได้คะแนน
19.2.3.2 ในตอนเริ่มเกมหรือในการเปลี่ยนส่ง ผู้ตัดสินจะผายมือไปยังแดนหรือฝ่ายนั้นๆ
19.2.3.3 เมื่อการแข่งขันเป็นเล็ท ผู้ตัดสินจะยกมือไปข้างหน้าเหนือศรีษะ เพื่อแสดงว่าการตีนั้นหยุดลง
19.2.3.4 เมื่อลูกถูกขอบด้านบนโต๊ะ ผู้ตัดสินจะชี้มือไปยังจุดที่ลูกสัมผัสถูกขอบโต๊ะ
19.2.3.5 ขณะเปลี่ยนแดนในครึ่งเกมสุดท้าย ผู้ตัดสินจะไขว้มือทั้ง 2 ข้างในระดับอก เพื่อให้ผู้เล่นเปลี่ยนแดน
19.3 ผู้ช่วยผู้ตัดสิน
19.3.1) ผู้ช่วยผู้ตัดสินจะถูกแต่งตั้งขึ้นในแต่ละแมทซ์ จำนวน 1-2 คน โดยนั่งตรงข้ามกับผู้ตัดสิน ในกรณีที่มีผู้ช่วยผู้ตัดสิน 1 คน จะนั่งแนวเดียวกันกับเน็ต หากมีผู้ช่วยผู้ตัดสิน 2 คน แต่ละคนจะนั่งแนวเดียวกันกับเส้นสกัดแต่ละด้าน
19.3.2) ผู้ช่วยผู้ตัดสินมีหน้าที่ตัดสินว่าลูกเทเบิลเทนนิสสัมผัสถุกขอบโต๊ะหรือไม่ ในด้านที่ใกล้ที่สุดกับตนเอง
19.3.3) ทั้งผู้ตัดสินและผู้ช่วยผู้ตัดสินอาจจะตัดสินใจดังนี้
19.3.3.1 พิจารณาลักษณะการส่งลูกของผู้เล่นว่าถูกต้องตามกติกาหรือไม่
19.3.3.2 ในการส่งลูก ลูกนั้นสัมผัสถูกเน็ตหรือไม่
19.3.3.3 พิจารณาว่าผู้เล่นขวางลูกหรือไม่
19.3.3.4 ในขณะแข่งขันมีส่งที่เข้ามารบกวนอันจะมีผลต่อการแข่งขันหรือไม่
19.3.3.5 รักษาเวลาในการฝึกซ้อม ในการเล่น หรือในขณะหยุดพัก
19.3.4) การตัดสินใดๆ ของผู้ตัดสินและผู้ช่วยผู้ตัดสินตามข้อ 19.3.3) จะต้องไม่ก้าวก่ายต่อหน้าที่ของเจ้าหน้าที่อื่นๆ ที่แต่งตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ
19.3.5) ถ้าแต่งตั้งผู้ช่วยผู้ตัดสิน 2 คน ผู้ช่วยผู้ตัดสินที่จะทำหน้าที่ตามข้อ 19.3.2 , 19.3.3.1 และ 19.3.3.3 และในการขานอื่นๆ ที่อยู่ใกล้กับโต๊ะและผู้เล่นในด้านของเขา
19.3.6) ในการแข่งขันระบบเร่งเวลา หากมีผู้ช่วยผู้ตัดสิน 1 คน จะต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่นับจำนวนครั้งขึ้นมาต่างหาก ถ้ามีผู้ช่วยผู้ตัดสิน 2 คน ผู้ช่วยผู้ตัดสินจะเป็นผู้นับจำนวนครั้ง โดยผู้นับคือผู้ช่วยผู้ตัดสินที่อยู่ใกล้กับผู้เล่นที่เป็นฝ่ายรับ

20. การประท้วง
20.1 จะไม่มีการตกลงกันเองของผู้เล่นหรือหัวหน้าทีมที่จะเปลี่ยนแปลงคำตัดสินของผู้ตัดสินหรือเจ้าหน้าที่ ในกรณีที่เกมการแข่งขันเกิดปัญหาขึ้นตามข้อเท็จจริง หรือเปลี่ยนแปลงการตีความตามกติกาหรือกฎข้อบังคับของผู้ชี้ขาด หรือเปลี่ยนแปลงการดำเนินการจัดซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการจัดการแข่งขัน
20.2 การประท้วงจะต้องไม่คัดค้านต่อการตัดสินของผู้ตัดสินหรือเจ้าหน้าที่ในกรณีปัญหาที่เกิดขึ้นตามข้อเท็จจริง หรือประท้วงในการตัดสินของผู้ชี้ขาดในกรณีที่เกี่ยวกับการตีความตามกติกาหรือกฏข้อบังคับ
20.3 การประท้วงเกี่ยวกับการตัดสินของผู้ตัดสินในกรณีเกี่ยวกับการตีความในปัญหาของกติกาหรือกฏข้อบังคับ ให้ทำการประท้วงต่อผู้ชี้ขาด และการตัดสินของผู้ชี้ขาดถือว่าสิ้นสุด
20.4 การประท้วงเกี่ยวกับการตัดสินของผู้ชี้ขาดในกรณีเกี่ยวกับปัญหาของการจัดการแข่งขันนอกเหนือจากกติกาหรือกฎข้อบังคับ ให้ทำการประท้วงต่อคณะกรรมการจัดการแข่งขัน และการตัดสินของคณะกรรมการจัดการแข่งขันถือว่าสิ้นสุด
20.5 การแข่งขันประเภทบุคคล การประท้วงจะทำได้เฉพาะผู้เล่นซึ่งเป็นคู่กรณีในแมทซ์ที่ปัญหาได้เกิดขึ้น และในการแข่งขันประเภททีม การประท้วงจะทำได้เฉพาะหัวหน้าทีมซึ่งเป็นคู่กรณีในแมทซ์ที่ปัญหาเกิดขึ้นเท่านั้น
20.6 ปัญหาการตีความตามกติกาหรือกฏข้อบังคับที่เกิดจากการตัดสินของผู้ชี้ขาดหรือปัญหาของการจัดการแข่งขันหรือดำเนินการแข่งขันที่เกิดขึ้นจากการตัดสินของคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ผู้เล่นหรือหัวหน้าทีมอาจจะประท้วงผ่านต้นสังกัดหรือสโมสรของตนไปยังสมาคมก็ได้ สำหรับการพิจารณาของสมาคมจะพิจารณาหาข้อปฏิบัติสำหรับการตัดสินต่อไปในอนาคต แต่ทั้งนี้จะไม่มีผลต่อคำตัดสินในครั้งที่ผ่านมาใดๆ ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้วโดยผู้ชี้ขาดหรือคณะกรรมการจัดการแข่งขันที่รับผิดชอบ

21. การดำเนินการแข่งขัน
21.1 ผู้เล่นจะได้รับอนุญาตให้ฝึกซ้อมบนโต๊ะแข่งขันเป็นเวลาไม่เกิน 2 นาที ก่อนการแข่งขัน สำหรับในช่วงเวลาระหว่างการแข่งขันจะไม่สามารถทำการฝึกซ้อมได้ ซึ่งการฝึกซ้อมนอกเหนือจากที่กล่าวมาอาจจะขยายออกไปได้โดยการอนุญาตของผู้ชี้ขาด
21.2 ถ้าแมทซ์การแข่งขันไม่สามารถเริ่มได้เนื่องจากผู้เล่นไม่สามารถตกลงกันได้ในการเลือกลูกแข่งขัน ผู้ตัดสินจะเป็นผู้เลือกให้โดยวิธีการสุ่มและถ้าผู้เล่นยังปฏิเสธอยู่อาจจะถูกปรับเป็นแพ้โดยผู้ชี้ขาด
21.3 ในระหว่างการแข่งขัน ผู้ตัดสินอาจจะอนุญาตให้หยุดเพื่อทำการเช็ดเหงื่อได้ในช่วงเวลาอันสั้นที่สุดเท่าที่จำเป็นซึ่งจะสามารถทำได้เมื่อครบทุกๆ 5 คะแนนเท่านั้น และเมื่อขณะเปลี่ยนแดนกันในเกมสุดท้าย
21.4 ถ้าไม้เทเบิลเทนนิสของผู้เล่นหักในระหว่างการแข่งขัน ผู้เล่นจะต้องเปลี่ยนไม้อันใหม่ทันทีด้วยไม้ของผู้เล่นที่นำติดตัวเข้ามาในพื้นที่การแข่งขันหรือไม้ที่ถูกส่งให้กับผู้เล่นในพื้นที่การแข่งขันก็ได้
21.5 ผู้เล่นจะได้รับอนุญาตอย่างมีเหตุผลที่จะตรวจสอบอุปกรณ์ที่เปลี่ยนใหม่อันเกิดจากการชำรุด เช่น ไม้เทเบิลเทนนิสหรือลูกเทเบิลเทนนิสที่ชำรุด แต่ก็จะไม่มากไปกว่าการฝึกตีโต้ 2-3 ครั้งก่อนการเล่นใหม่
21.6 ผู้เล่นจะต้องวางไม้เทเบิลเทนนิสของเขาบนโต๊ะแข่งขัน ระหว่างช่วงหยุดพักระหว่างเกม
21.7 ผู้เล่นจะต้องอยู่ในพื้นที่การแข่งขันหรือใกล้พื้นที่การแข่งขันตลอดเวลาการแข่งขันนั้น โดยในการหยุดพักระหว่างเกมผู้เล่นจะต้องอยู่ในระยะไม่เกิน 3 เมตร ของพื้นที่การแข่งขัน ภายใต้การควบคุมของผู้ตัดสิน การออกนอกระยะดังกล่าวสามารถทำได้โดยต้องได้รับอนุญาตจากผู้ชี้ขาด

22. การยุติการเล่นฉุกเฉิน
22.1 ผู้ชี้ขาดอาจจะอนุญาตให้ยุติการเล่นชั่วคราวในช่วงเวลาอันสั้นที่สุด ซึ่งจะไม่เกิน 10 นาที ถ้าผู้เล่นไม่สามารถเล่นได้เนื่องจากอุบัติเหตุ โดยมีเงื่อนไขว่า ในความเห็นของผู้ชี้ขาดการยุติการเล่นชั่วคราวนั้นไม่น่าจะทำให้ผู้เล่นหรือคู่เล่นฝ่ายตรงข้ามเสียเปรียบเกินควร
22.2 การยุติการเล่นชั่วคราวจะไม่อนุญาตสำหรับความไม่พร้อมของร่างกายที่เกิดขึ้นในขณะแข่งขันหรือคาดว่าจะเกิดขึ้นก่อนการแข่งขันจะเริ่มขึ้น เช่น ความอ่อนเพลีย ตะคริว หรือความไม่สมบูรณ์ของผู้เล่น เหล่านี้จะไม่อนุญาตให้เป็นการยุติการเล่นฉุกเฉิน การยุติการเล่นฉุกเฉินจะยุติในกรณีที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุเท่านั้น เช่น การบาดเจ็บเนื่องจากหกล้ม
22.3 ระหว่างการยุติการเล่นฉุกเฉิน ผู้ชี้ขาดอาจจะอนุญาตให้ผู้เล่นทำการฝึกซ้อมบนโต๊ะแข่งขันนั้นรวมไปถึงโต๊ะแข่งขันอื่นๆ ได้

23. การแนะนำผู้เล่นหรือการสอนผู้เล่น
23.1 ในการแข่งขันประเภททีม ผู้เล่นจะได้รับคำแนะนำหรือการสอนจากใครก็ได้ แต่ในการแข่งขันประเภทบุคคลผู้เล่นหรือคู่เล่นจะได้รับการสอนจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น ซึ่งจะต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบก่อนการแข่งขัน ถ้าบุคคลที่ไม่มีหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งมาทำการสอน ผู้ตัดสินจะใช้ใบแดงไล่บุคคลนั้นออกจากบริเวณพื้นที่แข่งขัน
23.2 ผู้เล่นจะได้รับการสอนในระหว่างหยุดพักระหว่างจบเกม หรือระหว่างช่วงหยุดพักการเล่นชั่วคราวที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น หากมีบุคคลสอนผู้เล่นในขณะแข่งขัน ผู้ตัดสินจะใช้ใบเหลืองและเตือนบุคคลนั้นไม่ให้กระทำเช่นนั้นอีก และแจ้งให้ทราบว่าในครั้งต่อไปจะให้ออกจากบริเวณพื้นที่แข่งขัน
23.3 หลังจากผู้ตัดสินได้เตือนแล้ว หากมีบุคคลในทีมหรือบุคคลอื่นที่ทำการสอนอย่างผิดกติกาอีก ผู้ตัดสินจะใช้ใบแดงไล่ออกจากพื้นที่การแข่งขันไม่ว่าเขาจะเป็นผู้ถูกเตือนมาก่อนหน้านั้นหรือไม่ก็ตาม
23.4 ในการแข่งขันประเภททีม ผู้สอนที่ถูกไล่ออกจากพื้นที่แข่งขันจะไม่สามารถกลับเข้ามาได้อีก จนกระทั่งจบการแข่งขันประเภททีม ยกเว้นเขาผู้นั้นต้องลงทำการแข่งขัน สำหรับประเภทบุคคลผู้สอนไม่สามารถกลับเข้ามาได้อีกจนกระทั่งจบการแข่งขันแมทซ์นั้น
23.5 ถ้าผู้สอนปฏิเสธที่จะออกจากพื้นที่การแข่งขัน หรือกลับเข้ามาในพื้นที่การแข่งขันก่อนที่การแข่งขันจะเสร็จสิ้น ผู้ตัดสินจะยุติการเล่นและรายงานต่อผู้ชี้ขาดทันที

24. ความประพฤติ
24.1 ผู้เล่นและผู้ฝึกสอน จะต้องไม่ทำกติกาหรือความประพฤติที่ไม่ดีอันจะมีผลต่อฝ่ายตรงข้ามหรือผู้ชม หรือทำให้เกมการแข่งขันเกิดความเสียหาย ความประพฤติดังกล่าว เช่น จงใจทำให้ลูกแตก,เคาะโต๊ะด้วยไม้เทเบิลเทนนิส,พูดคำหยาบ หรือจงใจตะโกนด้วยเสียงดังอันควร, แกล้งตีลูกเทเบิลเทนนิสให้ออกจากพื้นที่แข่งขัน หรือการไม่เคารพเชื่อฟังผู้ตัดสินและเจ้าหน้าที่ ตลอดจนละเมิดข้อบังคับในการสอนผู้เล่นระหว่างการแข่งขัน
24.2 เมื่อผู้ตัดสินได้พิจารณาแล้วเห็นว่าผู้เล่นหรือผู้ฝึกสอนทำความประพฤติไม่ดีดังกล่าว ผู้ตัดสินจะให้ใบเหลืองและเตือนถึงการลงโทษหากยังกระทำอยู่อีก สำหรับในประเภทคู่ การเตือนผู้เล่นคนหนึ่งหมายถึงมีผลต่อทั้ง 2 คนด้วย
24.3 หลังจากที่ได้รับการเตือนแล้ว ถ้าผู้เล่นยังกระทำลักษณะดังกล่าวอีกหรือลักษณะอื่นๆ อีก ผู้ตัดสินจะให้ 1 คะแนนแก่ฝ่ายตรงข้าม หลังจากนั้นหากยังกระทำอยู่อีกผู้ตัดสินจะให้คะแนน 2 คะแนนแก่ฝ่ายตรงข้าม ซึ่งในการให้คะแนนแต่ละครั้งผู้ตัดสินจะใช้ใบเหลืองและใบแดงชูขึ้นพร้อมกัน ทั้งนี้ยกเว้นกรณี 24.5
24.4 หลังจากผู้แนะนำหรือผู้สอนได้รับการเตือนแล้ว แต่ยังกระทำอยู่อีก ผู้ตัดสินจะไล่เขาออกจากพื้นที่โดยใช้ใบแดง ซึ่งเขาจะกลับมาไม่ได้จนกว่าการแข่งขันในประเภททีมนั้นได้เสร็จสิ้นลงหรือจบการแข่งขันในคู่นั้นสำหรับประเภทบุคคล ทั้งนี้ยกเว้นกรณีข้อ 24.5
24.5 ถ้าผู้เล่นได้ถูกลงโทษในเรื่องเกี่ยวกับความประพฤติโดยให้คะแนนแก่ฝ่ายตรงข้าม 2 ครั้งแล้วแต่ยังกระทำอยู่อีก หรือเมื่อใดก็ตามที่ผู้เล่นหรือผู้สอนทำการละเมิดอย่างร้ายแรง ผู้ตัดสินจะยุติการเล่นและรายงานต่อผู้ชี้ขาดทันที
24.6 ผู้ชี้ขาดอาจจะใช้มาตรการทางวินัยแก่ผู้เล่นภายใต้ดุลยพินิจของเขาสำหรับความประพฤติที่ไม่สมควร ก้าวร้าว ฯลฯ โดยอาจจะไล่ผู้เล่นออกจากแมทซ์การแข่งขันในประเภทนั้นๆ หรือการแข่งขันทั้งหมดโดยการใช้ใบแดง แม้ว่าผู้ตัดสินจะรายงานให้ทราบหรือไม่ก็ตาม
24.7 ถ้าผู้เล่นถูกไล่ออก 2 ครั้งในประเภททีม หรือ 2 ครั้งในประเภทบุคคลในแมทซ์นั้น ผู้เล่นจะถูกออกจากการแข่งขันในประเภททีมหรือประเภทบุคคลในแมทซ์นั้นโดยอัตโนมัติ
24.8 ถ้าพบว่าผู้เล่นได้เปลี่ยนไม้เทเบิลเทนนิสของเขาในระหว่างการเล่นโดยไม่แจ้งให้ผู้ตัดสินและฝ่ายตรงข้ามทราบ ผู้ตัดสินจะยุติการเล่นและรายงานต่อผู้ชี้ขาดทันที ในโอกาสแรกผู้ชี้ขาดจะเตือนผู้เล่น หากยังกระทำอีกจะถูกปรับเป็นแพ้โดยผู้ชี้ขาด

25. การแข่งขันประเภททีม
25.1 ในการแข่งขันประเภททีมจะทำการแข่งขันแบบ SWAYTHLING CUP หรือ CORBILLON CUP หรือระบบอื่นๆ ซึ่งจะต้องระบุลงในระเบียบการแข่งขันนั้นๆ
25.2 การแข่งขันแบบ SWAYTHLING CUP จะต้องประกอบด้วยผู้เล่น 3 คน โดยก่อนการแข่งขันหัวหน้าทีมจะต้องมาจับฉลากเสี่ยงว่าทีมใดจะได้ทีม A,B,C หรือ X,Y,Z
25.2.1) ลำดับการแข่งขันแบบ SWAYTHLING CUP มีดังนี้
คู่ที่ 1 A - X
คู่ที่ 2ฺ B – Y
คู่ที่ 3 C – Z
คู่ที่ 4 A – Y
คู่ที่ 5 B – X
25.2.2) การแข่งขันแต่ละคู่จะแข่งขันรู้ผลแพ้ชนะ 2 ใน 3 เกม และทีมแมทซ์จะถือผลแพ้ชนะ 3 ใน 5 คู่
25.3 การแข่งขันแบบ CORBILLION CUP จะประกอบด้วยผู้เล่น 2 , 3 หรือ 4 คน โดยก่อนการแข่งขันหัวหน้าทีมจะต้องมาจับฉลากเสี่ยงว่าทีมใดจะได้ทีม A,B,C หรือ X,Y,Z
25.2.1) ลำดับการแข่งขันแบบ CORBILLION CUP มีดังนี้
คู่ที่ 1 A – X
คู่ที่ 2 B – Y
คู่ที่ 3 ประเภทคู่
คู่ที่ 4 A – Y
คู่ที่ 5 B – X
25.3.2) การแข่งขันแต่ละคู่จะเป็นการแข่งขันประเภทเดี่ยว ยกเว้นในคู่ที่ 3 เป็นการแข่งขันประเภทคู่ ซึ่งประเภทคู่นี้จะส่งรายชื่อหลังจากการแข่งขันประเภทเดี่ยวคู่ที่ 2 เสร็จสิ้นลงแล้วก็ได้ โดยจะต้องเป็นผู้เล่นที่มีชื่ออยู่ในทีม
25.3.3) การแข่งขันแต่ละคู่จะแข่งขันรู้ผลแพ้ชนะ 2 ใน 3 เกม และทีมแมทซ์จะถือผลแพ้ชนะ 3 ใน 5 คู่
25.3.4) เมื่อจบการแข่งขันในแต่ละคู่ ผู้เล่นจะสามารถหยุดพักได้ไม่เกิน 5 นาที

26. การแข่งขันแบบแพ้คัดออก
26.1 จำนวนตำแหน่งของระบบการแข่งขันแพ้คัดออกจะต้องมีจำนวนเป็น 2 เท่า เช่น 2 , 4 , 8 , 16 , 32 เป็นต้น
26.2 ถ้าจำนวนผู้เล่นมีน้อยกว่าตำแหน่ง ให้ใส่ ชนะผ่าน (BYE) เพิ่มเข้าไปในรอบแรก
26.3 ถ้าจำนวนผู้เล่นมีมากกว่าตำแหน่ง ให้ใส่รอบคัดเลือก (QUALIFIERS)
26.4 การชนะผ่าน (BYE) หรือการคัดเลือก (QUALIFIERS) จะต้องกระจายอยู่อย่างสม่ำเสมอ โดยการชนะผ่าน (BYE) จะต้องอยู่กับมือวางอันดับแรก
26.5 การวางมืออันดับ
26.5.1) ผู้เล่นที่มีฝีมือดีตามอันดับจะต้องถูกวางตัวเพื่อไม่ให้พบกันก่อนที่จะถึงรอบสุดท้ายของการแข่งขัน
26.5.2) ผู้เล่นที่มีจากสโมสรเดียวกันจะถูกจับแยกกันให้แยกกันให้ห่างที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อไม่ไห้พบกันก่อนที่จะถึงรอบสุดท้ายของการแข่งขัน
26.5.3) ผู้เล่นมือวางอันดับ 1 จะถูกจัดให้อยู่บนสุด ผู้เล่นมืออันดับ 2 ถูกจัดให้อยู่ล่างสุด ผู้เล่นมือวางอันดับ 3 - 4 จะจับฉลากระหว่างผู้เล่นมือ 1 - 2
26.5.4) ผู้เล่นมือวางอันดับ 5 – 8 จะจับฉลากอยู่ระหว่างผู้เล่นตามข้อ 26.5.3
26.5.5) ผู้เล่นมือวางอันดับ 9 – 16 จะจับฉลากอยู่ระหว่าง ผู้เล่นตามข้อ 26.5.4 ตามลำดับ

27. กำหนดการแข่งขัน
27.1 ในการแข่งขันระดับภายในประเทศ ผู้เล่นจะต้องทำการแข่งขันตามที่กำหนด หากเลยเวลาแข่งขันให้ปรับเป็นแพ้โดยผู้ชี้ขาด ดังนี้
27.1.1) ประเภทบุคคล ให้เวลา 5 นาที นับจากกำหนดเวลาแข่งขัน หรือหากเลยกำหนดเวลาแข่งขันแล้วให้นับจากเวลาที่เรียกลงทำการแข่งขัน
27.1.2) ประเภททีม ให้เวลา 15 นาที นับจากกำหนดเวลาแข่งขันหรือหากเลยกำหนดเวลาแข่งขันแล้วนับจากเวลาที่เรียกมาจับฉลาก คือโดยจะต้องมีผู้เล่นอย่างน้อย 2 คนในการแข่งขันระบบ CORBILLION CUP และจะต้องมีผู้เล่นอย่างน้อย 3 คน ในการแข่งขันระบบ SWAYTHLING CUP
27.2 เวลาที่ระบุไว้ตามข้อ 27.1.1 , 27.1.2 นี้ อาจอนุญาตขยายออกไปได้โดยการอนุญาตของผู้ชี้ขาด

28. การคิดคะแนนในการแข่งขันแบบวนพบกันหมด
28.1 ในการแข่งขันแบบวนพบกันหมด ผู้เล่นหรือทีมภายในกลุ่มนั้นต้องแข่งขันพบกันทุกทีมโดยผู้ชนะ จะได้ 2 คะแนน ผู้แพ้จะได้ 1 คะแนน และผู้ที่ไม่แข่งขันหรือแข่งขันไม่เสร็จสิ้น จะได้ 0 คะแนน และการจัดอันดับจะดูผลจากคะแนนแมทซ์นี้เป็นอันดับแรก
28.2 ถ้าผู้เล่น / ทีมที่มีคะแนนแมทซ์เท่ากันตั้งแต่ 2 คน / ทีมขึ้นไป การจัดอันดับให้ดูผลการแข่งขันเฉพาะคน / ทีม ที่มีคะแนนเท่ากันเท่านั้น โดยใช้ผลแพ้ชนะของบุคคล (สำหรับประเภททีม) เกม หรือ คะแนน ตามลำดับจนกว่าจะได้ข้อยุติ ซึ่งวิธีการคิดคะแนนในแต่ละขั้นตอนให้ใช้คะแนนได้ หารด้วยคะแนนเสีย
28.3 ในการคิดคะแนนตามขั้นตอนหากมีหนึ่งหรือมีมากกว่าหนึ่งในกลุ่มนั้นแสดงผลต่างขณะที่ส่วนอื่นๆ ยังมีคะแนนเท่ากันอยู่ ผลการแข่งขันของผู้ที่เท่ากันนั้นจะถูกคำนวณย่อยต่อไปตามลำดับ คือ ผลบุคคล (สำหรับประเภททีม)จำนวนเกม คะแนนในเกม
28.4 หากคิดคะแนนตามข้อ 28.1 , 28.2 และ 28.3 แล้วยังมีคะแนนเท่ากันอีกให้ใช้วิธีการจับฉลาก

1. โต๊ะเทเบิลเทนนิส